วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เพลงพื้นบ้าน

เพลงพื้นบ้าน มีผู้ให้ความหมายไว้หลายแนวทางดังนี้
          มนตรี  ตราโมท (๒๔๙๗ : ๕๐)  กล่าวว่า  เพลงพื้นบ้าน หมายถึง เพลงของชาวบ้านในท้องถิ่นต่าง ซึ่งแต่ละท้องถิ่นประดิษฐ์แบบแผนการร้องเพลงของตนไปตามความนิยม และสำเนียงภาษาพูดที่เพี้ยนแปร่งแตกต่างกันไป  เพลงแบบนี้มักจะนิยมร้องกันในเวลาเทศกาลหรืองานที่มีการชุมนุมผู้คนในหมู่บ้านมาร่วมรื่นเริงกันชั่วครั้งชั่วคราว  เช่น ตรุษสงกรานต์  ขึ้นปีใหม่ ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า  และในการลงแขกเอาแรงกันในกิจอันเป็นอาชีพ  เช่น เกี่ยวข้าว  นวดข้าว
          ประเทือง  คล้ายสุบรรณ์  (๒๕๓๑ : ๒๙)  ให้ความหมายไว้ว่า  คือเพลงที่ชาวบ้านในท้องถิ่นต่าง คิดรูปแบบการร้องและการเล่นขึ้น  เพื่อความรื่นเริงสนุกสนาน
          จารุวรรณ    ธรรมวัตร   (๒๕๓๐ : ๑๐๒)  ให้ความหมายไว้ว่า  คือเพลงที่แพร่หลายในแต่ละชุมชน  มีเนื้อร้องทำนองเป็นสมบัติของชุมชนโดยปัจเจกบุคคล  หรือสังคมสร้างขึ้น และสมาชิกในชุมชนยอมรับร่วมกันว่าเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นตน
          สรุปความหมายของเพลงพื้นบ้านได้ว่า  หมายถึง  เพลงที่ชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่นคิดประดิษฐ์รูปแบบ  เนื้อร้อง  ทำนองขึ้นเอง  ทุกคนยอมรับและนำไปใช้ร่วมกัน

ที่มาของเพลงพื้นบ้าน
         
          เพลงพื้นบ้านสันนิษฐานมีมาตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัย  ตามตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์อ้างว่า เพลงปรากฎในสมัยสุโขทัยรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง  โดยมีข้อความว่า "อันราชประเพณีสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยทรงประพฤติมาแต่ก่อน  ถ้าทอดพระเนตรชักโคมลอยแล้ว  ก็เสด็จทางเรือพระที่นั่งไปถวายดอกไม้เพลิง  บูชาพระรัตนตรัยทุกพระอารามหลวง  บรรดาที่อยู่ริมฝั่งนทีวนรอบกรุงทั้งทรง
ทอดบังสุกุลจีวรทรงพระราชอุทิศถวายพระภิกษุสงฆ์อันพึงปรารถนาด้าย  แล้วก็ทรงทอดพระเนตร
ทรงฟังประชาชนชายหญิงร้องรำเล่นนักขัตฤกษ์เป็นการมหรสพต่างๆ สำราญราชหฤทัยทั้งสามราตรี"
          ภิญโญ  จิตต์ธรรม  (๒๕๑๖ : )  กล่าถึงที่มาของเพลงพื้นบ้านว่า  เพลงพื้นบ้านเกิดจากประเพณีทางศาสนาหรือวัฒนธรรมของชุมชนในถิ่นหรือเขตนั้น นับตั้งแต่ชุมชนที่ห่างไกลความเจริญไปจนถึงชุมชนที่เจริญแล้ว  มีลักษณะพิเศษตามความนิยมของถิ่นนั้น เพลงพื้นบ้านร้องสืบต่อกันมาโดยการจำ  ผู้บอกจะบอกต่อกันหลายชั่วอายุคน  รูปแบบหลากหลายแตกต่างแต่ละท้องถิ่นต่อมาค่อยมีรูปแบบที่ชัดเจน  มีสัมผัสคล้องจอง ท่วงทำนองมีลักษณะสัมพันธ์กับธรรมชาติของท้องถิ่นนั้น  ในการร้องจะมีดนตรีท้องถิ่นให้จังหวะด้วย
          จารุวรรณ  ธรรมวัตร  (.. : )  กล่าวถึงที่มาของเพลงพื้นบ้านว่า  เพลงพื้นบ้านเกิดจากชุมชนที่ถ่ายทอดปรัชญาความนึกคิดของชาวบ้านเนื้อหาบอกถึงความรัก  ความห่วงใย  สอน ตำหนิ โกรธแค้น  เศร้าสร้อยหรือประท้วงสังคม  ฉะนั้นการศึกษาเพลงชาวบ้านจึงเป็นการศึกษาอารมณ์แก่นแท้ของมนุษย์อันเกี่ยวกับชีวิตและสังคม
          สรุปได้ว่า  เพลงพื้นบ้านมีมาตั้งแต่ตั้งอาณาจักรสุโขทัย  ตามหลักฐานในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์เพลงพื้นบ้านเป็นวัฒนธรรมของชุมชนนั้น   เกิดจากประเพณี  พิธีกรรมหรือเกิดจากการละเล่นเพื่อความบันเทิงใจในงานนักขัตฤกษ์  เช่น ตรุษสงกรานต์ งานกฐิน เป็นต้น  รูปแบบไม่แน่นอนเนื้อหาบอกถึงความรัก ความดีใจ ความเศร้าโศก ฯลฯ

วัตถุประสงค์ในการเล่นเพลงพื้นบ้าน

          เพลงพื้นบ้านมีจุดประสงค์ในการเล่นดังนี้
1.    เพื่อความบันเทิงใจ  เป็นเพลงที่เล่นในงานเทศกาลหรืองานรื่นเริงต่าง เช่น เพลงเรือ เพลงฉ่อย หมอลำ เป็นต้น
2.    เพื่อร้องประกอบการทำงาน เป็นเพลงที่ร้องในขณะที่ช่วยกันทำงานเป็นหมู่ เช่น เพลงเกี่ยวข้าว  เพลงเต้นกำรำเคียว  เพลงสงฟาง
3.    เพื่อวัตถุประสงค์จำเพาะ  เป็นเพลงที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะที่ชุมชนต้องการ  เช่น เพลงขอทาน เพลงร่อยพรรษา  เพลงแห่นางแมว  และเพลงเชิญผีต่าง
4.    เพลงที่ร้องในประเพณีทางศาสนาและพิธีกรรมตามความเชื่อ เช่น เพลงแหล่ เพลงสวด เพลงเซิ้งต่าง เช่น เซิ้งบั้งไฟ  เซิ้งผีตาโขน เป็นต้น



ลักษณะเนื้อร้องเพลงพื้นบ้าน

          เนื้อร้องและทำนองของเพลงพื้นบ้าน  ไม่มีระเบียบแบบแผนว่าจะต้องใช้เสียงใด  สูงต่ำแค่ไหนในแต่ละท้องถิ่นจะประดิษฐ์แบบแผนการร้องของตนไปตามความนิยม  ส่วนมากเป็นการเกี้ยวพาราสีหรือการซักถามโต้ตอบกันระหว่างพ่อเพลงกับแม่เพลง  ความดีเด่นของเพลงพื้นบ้านอยู่ที่ความไพเราะของคารมหรือถ้อยคำที่ง่าย แต่มีความหมายกินใจ และไหวพริบปฏิภาณในการร้องกล่าวแก้กัน
          เนื้อร้องของเพลงพื้นบ้าน  แบ่งออกได้ ประเภท คือ
1.    ความรัก
2.    ความเศร้าโศก  ความพลัดพราก  (ความตาย)  และความผิดหวัง
3.    ความตลกขบขันที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ ล้อเลียนบุคคล
4.    ภาพชีวิตความเป็นอยู่ของสังคม ได้แก่ สภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ของชุมชน พฤติกรรมวิถีชีวิตของบุคคลในชุมชนหรือปัญหาสังคม  ปัญหาการเมืองการปกครองแต่ละยุคแต่ละสมัย
5.    เนื้อร้องเกี่ยวกับการเมือง  เนื้อเรื่องจะเสนอเหตุการณ์การเมืองสภาพปัจจุบัน
เพลงพื้นบ้านประเภทที่ -  เป็นเพลงพื้นบ้านที่มีกันมากแพร่หลาย ส่วนประเภทที่ ขึ้นอยู่กับสภาพสังคมว่ายุคใดมีความขัดแย้งทางการเมืองการปกครองเข้มข้นมากน้อยเพียงใด

โอกาสในการเล่นเพลงพื้นบ้าน
          เพลงพื้นบ้านโดยทั่วไปที่ชาวบ้านในท้องถิ่นต่าง คิดรูปแบบการร้องและการเล่นขึ้นเพื่อความรื่นเริงสนุกสนานในโอกาสที่หญิงชายได้มาพบกันในงานเทศกาลและงานนักขัตฤกษ์ต่าง เช่น ตรุษ สงกรานต์ ลอยกระทง ทอดกระฐิน  ทอดผ้าป่า  ไหว้พระประจำปี  และในโอกาสที่มาช่วยกันทำงานในนา  ในไร่ เช่น เกี่ยวข้าว นวดข้าว ลากไม้ เป็นต้น  เพลงพื้นบ้านจึงเป็นเพลงที่ชาวบ้านร้องเล่นกันเพื่อความสนุกสนานในงานเทศกาล และผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยในการทำงานร่วมกัน




สถานที่ที่ใช้เล่นเพลงพื้นบ้าน
          เพลงพื้นบ้านจะเล่นตามลานบ้าน  ลานวัด ท้องนา และตามลำน้ำ แล้วแต่ประเภทของเพลงในปัจจุบันเพลงพื้นบ้านเป็นมหรสพที่ผู้จ้างนำไปแสดงตามที่ต่าง เช่น โรงมหรสพ วัด หรือ สถานที่แล้วแต่ผู้จ้างจะจัดไว้

ประเภทของเพลงพื้นบ้าน
          เพลงพื้นบ้านของไทยมีอยู่ทุกภูมิภาค  ดังจะกล่าวถึงประเภทของเพลงพื้นบ้านในแต่ละภาคพอสังเขปดังนี้
          ภาคเหนือ  เพลงพื้นบ้านของภาคเหนือมีดังนี้
          .  เพลงซอ  เป็นเพลงที่ขับร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสีกันระหว่างชายหญิง มีดนตรีบรรเลงคลอประกอบคือปี่  ซึง และสะล้อ  เพลงซอมีหลายทำนอง เช่น ซอขึ้นเชียงใหม่  ซอละม้ายจะปุ  ซอเชียงแสน
          .  จ๊อย  เป็นการขับลำนำบรรยายความในใจของหนุ่มที่ไปเกี้ยวสาว  ไม่ใช้ดนตรีประกอบมีหลายทำนอง เช่น ทำนองโก่งเรียวบง ม้าย่ำไฟ วิงวอน

          ภาคอีสาน  เพลงที่ได้รับความนิยมและ รู้จักกันแพร่หลายคือหมอลำ  หมอลำแบ่งออกเป็น ประเภท ประเภทใหญ่ คือ หมอลำที่แสดงเพื่อความบันเทิง ได้แก่ หมอลำพื้น  หมอลำกลอน หมอลำหมู่ และหมอลำเพลิน ประเภทที่สอง  หมอลำที่แสดงในพิธีกรรม ได้แก่ หมอลำผีฟ้า หมอลำส่อง หมอลำทรง (จารุวรรณ  ธรรมวัตร ๒๕๒๕ : ๔๔)  นอกจากนี้ยังมีเพลงพื้นบ้านของภาคอีสานเฉพาะถิ่นอีกด้วยกล่าวคือ
          .  อีสานเหนือ  ประกอบด้วยจังหวัด นครพนม เลย สกลนคร หนองคาย อุดรธานี มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี  มีเพลงพื้นบ้านที่นิยม คือเพลงลากไม้  เพลงเซิ้งหรือกาพย์เซิ้ง ได้แก่ เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งผีตาโขน เซิ้งนางแมว และเซิ้งแม่นางด้ง
          .  อีสานใต้  ประกอบด้วยจังหวัดนครราชสีมา  บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ มีเพลงพื้นบ้านที่นิยมคือ เพลงโคราช เพลงกะโน้บติงต็อง หรือระบำตั๊กแตนตำข้าว  กันตรึมเจรียง  อาไย  และเรือตรด

          ภาคกลาง  เพลงพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมและรู้จักกันแพร่หลายได้แก่ เพลงปรบไก่ เพลงไ่ฟ้า  เพลงเรือ เพลงครึ่งท่อน เพลงพวงมาลัย  เพลงพวงมะโหด เพลงฉ่อยหรือเพลงฉ่า เพลงทรงเครื่อง  เพลงอีแซว  เพลงใจหวัง  ลำตัด  เพลงไอ้พิมเพเล  เพลงยั่ว  เพลงหน้าใย เพลงชักเย่อ  เพลงระบำ  เพลงช้าเจ้าหงส์   เป็นต้น
         
          ภาคใต้  เพลงพื้นเมืองภาคใต้ที่รู้จักกันแพร่หลายมีหลายชนิด  ตัวอย่างเช่น  เพลงเรือ ซึ่งเป็นเพลงเล่นทางน้ำ เพลงบอก เป็นเพลงเล่นได้ทั้งร้องคนเดียวและร้องโต้ตอบและเพลงนา เป็นเพลงเล่นในช่วงทำนา เป็นต้น

ประเภทของเพลงพื้นบ้านอีสาน

          ประเภทของเพลงพื้นบ้านอีสาน  แบ่งประเภทโดยยึดหลักเวลาและโอกาสในการร้องแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ได้ ประเภท คือ
          .  เพลงร้องเล่น  เป็นเพลงที่ชุมชนนั้นไม่ว่าเด็ก คนหนุ่มสาวหรือผู้ใหญ่ร้องเพื่อความสนุกสนานในงานเทศกาลหรือวาระพิเศษ  เช่น หมอลำ เป็นที่นิยมในท้องถิ่นอีสานทั่ว ไป เพลงโคราช พบเฉพาะในจังหวัดโคราช เจรียง กันตรึม เล่นในจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ เพลงที่เด็ก ร้องประกอบการละเล่นของเด็ก  และเพลงประกอบการฟ้อนการรำ  เช่น เพลงประกอบการฟ้อนภูไท เพลงประกอบการเต้นสาก
          .  เพลงพิธีกรรม  เป็นเพลงที่ใช้เกี่ยวกับประกอบพิธีมีการลำบุญพระเวส การแหล่ต่าง เช่น แหล่อวยพร แหล่มัทรี การลำผีฟ้ารักษาคนป่วย  การสวดสารภัญญะ  การเซิ้งบั้นไฟในงานบุญบั้งไฟ การสู่ขวัญบายศรีในโอกาสต่าง
          .  เพลงกล่อมลูก   เป็นเพลงที่ชาวบ้านร้องเพื่อกล่อมลูกให้หลับไม่กวนโยเยเนื้อหาและทำนองแตกต่างออกไปแล้วแต่ท้องถิ่น
          เพลงพื้นบ้านอีสานในแต่ละชนิดจะกล่าวในแต่ละประเภทโดยละเอียดต่อไป

เพลงร้องเล่น

          เพลงร้องเล่นพื้นบ้านที่เด่นชัด ได้แก่ หมอลำ เพลงโคราช กันตรึม และเรือมอันเร  ซึ่งจะได้กล่าวถึงอย่างละเอียดในแต่ละประเภทต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น