คำสมาสมีสนธิ
คำสมาสมีสนธิ คือการสร้างคำใหม่ โดยการนำคำในภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต ตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมารวมกันแล้ว ทำให้เกิดคำใหม่ มีความหมายใหม่ มีความหมายคงเดิม มีความหมายเพี้ยนไป หรือมีความหมายอยู่คำหน้าคำเดียว ลักษณะเดียวกับคำสมาส แต่คำสมาสมีสนธิจะมีการกลมกลืนเสียงหรือมีการเชื่อมเสียง โดยมีการเปลี่ยนแปลงสระและพยัญชนะในพยางค์สุดท้ายของคำแรก และในพยางค์แรกของคำหลัง
มีหลักสังเกตดังนี้
สระสนธิ
๑. อะ , อา + อะ , อา มีตัวสะกด = อะ , อา เช่น
วน+อันดร วนันดร พุทธ+อันดร พุทธันดร
กต+อัญชลี กตัญชลี อัฎฐ+อังคิกมรรค อัฏฐังคิกมรรค
ทาน+อัธยาศัย ทานนัธยาศัย มหา+อัศจรรย์ มหัศจรรย์
ทีฆ+อัมพร ทีฆัมพร มหา+อรรณพ มหรรณพ
สุร+อังค์ สุรางค์ เสน+อังค์ เสนางค์
อุตม+อังค์ อุตมางค์ สต+อังค์ สตางค์
มหา+อาตม มหาตม นิร+อันดร นิรันดร
๒. อะ , อา + อะ , อา ไม่มีตัวสะกด = อา เช่น
เกษตร+อธิการ เกษตราธิการ นร+อธิบดี นราธิบดี
วร+อาภรณ์ วราภรณ์ ศาสตร+อาจารย์ ศาสตราจารย์
วันทนา+อาการ วันทนาการ ศึกษา+อธิการ ศึกษาธิการ
ประชา+อภิบาล ประชาภิบาล ประชา+อากร ประชากร
คงคา+อาลัย คงคาลัย ชล+อาศัย ชลาศัย
๓. อะ , อา + อิ ,อี = อิ , เอ เช่น
เทว+อินทร์ เทวินทร์ นร+อินทร์ นรินทร์
นร+อิศวร นเรศวร ราช+อินทร์ ราชชินทร์
มหา+อินทร์ มหินทร์ มหา+อิสี มเหสี
มหา+อิทธิ มหิทธิ ธารา+อินทร์ ธารินทร์
๔. อะ , อา + อี = อี
อุตร + อีสาน อุตรีสาน สัพพ+อีติ สัพพีติ
๕. อะ ,อา + อุ = อุ , อู , โอ , เอา เช่น
ภัณฑ+อุปกรณ์ ภัณฑุปกรณ์ พุทธ+อุบาท พุทโธบาท
มัคค+อุเทศก์ มัคคุเทศก์ ราช+อุปโภค ราชูปโภค
นย+อุบาย นโยบาย สาธารณ+อุปโภค สาธารณูปโภค
สุข+อุทัย สุโขทัย มหา+อุฬาร มโหฬาร
๖. อะ , อา + อู = อู เช่น
เอก+อูน เอกูน
๗. อะ, อา+เอ = เอ เช่น
อน + เอก เอนก ปัจจ+ เอกชน ปัจเจกชน
อภิษิต+ เอกราช อภิษิเตกราช
๘. อะ อา + ไอ = ไอ เช่น
โภค+ ไอศวรรย์ โภไคศวรรย์ หา+ไอศูรย์ มไหศูรย์
มหา+ ไอศวรรย์ มไหศวรรย์ มหา+ไอยรา มไหยรา
๙. อะ , อา + โอ = โอ เช่น
พุทธ+โอวาท พุทโธวาท วร+โอกาส วโรกาส
สุทธ+โอทนะ สุทโธทนะ มหา+โอสถ มโหสถ
๑๐. อะ , อา + เอา เช่น
ปิย + เอารส ปิเยารส
๑๑. อิ , อี + อิ , อี = อิ , อี , เอ เช่น
มุนิ + อินทร์ มุนินทร์ อริ+อินทร์ อินทร์
กรี+อินทร์ กรินทร์ เทพี+อินทร์ เทพินทร์
นารี+อินทร์ นารินทร์ ไพรี+อินทร์ ไพรินทร์
นารี+อิศวร นารีศวร อัมพร+อินทร์ อัมพรินทร์
๑๒. อิ , อี + สระอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ อิ , อี มีวิธีการทำ ๒ วิธี คือ
ก. ลบ อิ , อี แล้วต่อกับสระหลัง เช่น
ราชินี + อุปถัมภ์ ราชีนูปถัมภ์ ราชินี+โอวาท ราชิโนวาท
หัตถี+อาจารย์ หัตถาจารย์ หัสดี+อาภรร์ หัสดาภรณ์
ศักดิ+อานุภาพ ศักดานุภาพ ฤทธิ+อานุภาพ ฤทธานุภาพ
สิทธิ+อานุภาพ สิทธานุภาพ อิทธิ+อานุภาพ อิทธานุภาพ
หัสดี+อลังการ หัสดลังการ มหิทธิ+อานุภาพ มหิธานุภาพ
ข. แปลงอิ, อี เป็นตัว ย แล้วต่อกับสระหลัง ตามวิธีที่ ๑ เช่น
ขันติ+อาคม ขันตยาคม มติ+อธิบาย มตยาธิบาย , มัตยาธิบาย
อธิ+อาตม อธยาตม ,อัธยาตม อธิ+อาศัย อธยาศัย , อัธยาศัย
นันทิ+อารมณ์ นันทยารมณ์ สันติ+อารักษ์ สันตยารักษ์
อติ+อันต์ อตยันต์ , อัตยันต์ ปรติ+อุบัน ปรัตยุบัน
หมายเหตุ เมื่อแปลง อิ , อี เป็น ย แล้ว ถ้าพยัญชนะหน้า ย ซ้ำกันให้ตัดออก ๑ ตัว
อัคคี+อาคาร อัคยาคาร สามัคคี+อาจารย์ สามัคยาจารย์
อัคคี+โอภาส อัคโยภาส รัตติ+อานันท์ รัตยานันท์
วัลลี+อาภรณ์ วัลยาภรณ์
เมื่อแปลง อิ , อี เป็น ย แล้ว พยัญชนะหน้า ย เป็น ต , ฏ สามารถเปลี่ยน ตย , ฏย ให้เป็น จจ ได้
ปฏิ+อมิตร ปฎยมิตร ปัจจามิตร
ปฏิ+อุบัน ปฎยุบัน ปัจจุบัน
ปฏิ+เอก ปฎเยก ปัจเจก
๑๓. อุ , อู + อุ , อู = อุ , อู เช่น
เหตุ+อุทัย เหตุทัย คุรุ+อุปกรณ์ คุรุปกรณ์
สินธุ+อุปจาร สินธูปจาร วิญญู+อุปเทศ วิญญูปเทศ
อุ , อู + สระอื่น ท่ไม่ใช่ อุ , อู ต้องแปลง อุ , อู เป็น ว แล้วตามด้วยสระของตัวหลัง
พหุ+อาหาร พหวาหาร คุรุ+อุปกรณ์ คุรโวปกรณ์
ธนู+อาคม ธนวาคม , ธันวาคม ธาตุ+อากร ธาตวากร
จตุ+อังค์ จตุวางค์ , จัตวางค์ เหตุ+อเนกรรถ เหตวาเนกรรถ
พยัญชนะสนธิ
คือการเชื่อมคำด้วยพยัญชนะ คำมูลตัวหน้ามีท้ายคำเป็นพยัญชนะ และคำมูลตัวหลังมีหน้าคำเป็นพยัญชนะ สนธิเข้าด้วยกันโดยวิธี อาเทโส คือแปลงบ้าง วิธีโลโป คือลบทิ้งบ้าง (อักขรวิธีการสร้างคำของบาลีและสันสกฤต) เช่น วิธี อาเทโส ส เป็น สระโอ
มนสส + รมย์ มโนรมย์ ความรื่นรมย์ใจ
รหส+ฐาน รโหฐาน สถานที่ลี้ลับ
มนส+ภาพ มโนภาพ ภาพที่เกิดทางใจ
เตชส+ธาตุ เตโชธาตุ ธาตุไฟ
ยสส+ธร ยโสธร ทรงไว้ซึ่งยศ
วิธีโลโป คือลบพยัชนะบางตัว เช่น
นิรส+ภัย นิรภัย ไม่มีภัย
นิรส+ทุกข์ นิรทุกข์ ไม่มีทุกข์
พรหมส+ชาติ พรหมชาติ การเกิดแห่งพรหม
ศุภมส+อัสดุ ศุภมัสสุ ขอความสุขจงเกิดมี
เป็นต้น
นิคหิตสนธิ หรือ นฤคหิตสนธิ
คือ การสนธิโดยคำมูลตัวหน้ามีนฤคหิต แล้ว แผลงนฤคหิตเป็นพยัญชนะ ตัวสุดท้ายของพยัญชนะวรรคนั้น ๆ ถ้าเป็นสระก็แปลงเป็นพยัญชนะตามที่กำหนด แล้วสนธิเข้ากับคำมูลคำหลัง
วรรคกะ แผลงนฤคหิต เป็น ง
ส°+กร สังกร ทำร่วม
ส°+เกต สังเกต ร่วมทำ
ส°+เกต สังเกต ร่วมทำ
ส°+ขยา สัขยา การนับรวม
ส°+คม สังคม การคบหากัน
ส°+คม สังคม การคบหากัน
วรรคจะ แผลงนฤคหิต เป็น ญ
ส°+จร สัญจร ไปร่วมกัน
ส°+ญาน สัญญาน เครื่องหมาย
ส°+ญาน สัญญาน เครื่องหมาย
ส°+ญา สัญญา รู้ร่วมกัน
ส°+ชาติ สัญชาติ เกิดร่วม
ส°+ชาติ สัญชาติ เกิดร่วม
ส°+ชัย สัญชัย ชนะพร้อม
ส°+จร สัญจร การเดินไป
วรรคฏะ แผลงนฤคหิต เป็น ณ
ส°+จร สัญจร การเดินไป
วรรคฏะ แผลงนฤคหิต เป็น ณ
ส°+ฐาน สัณฐาน ขนาด,รูปร่าง
วรรตตะ แผลงนฤคหิต เป็น น
วรรตตะ แผลงนฤคหิต เป็น น
ส°+เทศ สนเทศ
ส°+โตษ สันโดษ
ส°+นิบาต สันนิบาต
ส°+โตษ สันโดษ
ส°+นิบาต สันนิบาต
วรรคปะ แผลงนฤคหิต เป็น ม
ส°+ปทาน สัมปทาน
ส°+ผัส สัมผัส
ส°+ผัส สัมผัส
ส°+โภชน์ สัมโภชน์
ส°+มุติ สมมุติ
ส°+มุติ สมมุติ
ส°+พุทธ สัมพุทธ
ส°+ภาษณ์ สัมภาษณ์
ส°+ภาษณ์ สัมภาษณ์
ส°+พันธ์ สัมพันธ์
ส°+โพธิ สัมโพธิ
ส°+โพธิ สัมโพธิ
เศษวรรค แผลงนฤคหิต เป็น ง
ส°+สาร สังสาร , สงสาร
ส°+โยค สังโยค
ส°+โยค สังโยค
ส°+หรณ์ สังหรณ์
ส°+วร สังวร
ส°+วร สังวร
ส°+สนทนา สังสนทนา
นิคหิต สนธิกับ สระ แปลงนิคหิต เป็น ม เช่น
สํ + อาทาน สมาทาน
สํ + อาคม สมาคม
สํ + โอสร สโมสร
สํ + อาคม สมาคม
สํ + โอสร สโมสร
สํ + อาจารย์ สมาจารย์
สํ + อิทธิ สมิทธิ
สํ + อุทัย สมุทัย
สํ + อิทธิ สมิทธิ
สํ + อุทัย สมุทัย
..................................................
หนังสืออ้างอิง
กำชัย ทองหล่อ . หลักภาษาไทย .พิมพ์ครั้งที่ ๒ . กรุงเทพมหานคร , รวมสานส์ . ๒๕๓๗.
พรทิพย์ แฟงสุด . ภาษาไทย ม. ๓ . กรุงเทพมหานคร, ฟิสิกส์เซ็นเตอร์ . ม.ป.ป.
อ่านแล้วค่ะ เดี๋ยวจะปริ้นไป
ตอบลบอ่านแล้วครับปริ้นแล
ตอบลบอ่านแล้วคับ
ตอบลบอ่านแล้วค่ะ
ตอบลบกาก
ตอบลบทำไมถึงว่ากากละมันดีจะตาย
ลบขอบคุณมากครับ คือพรุ่งนี้สอบ o-net พอดีเปนประโยชต่อผมมาก
ตอบลบ