ปริศนาคำทาย
ความหมาย
ปริศนา หมายถึง การตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยผูกขึ้นเป็นประโยคที่สัมผัสคล้องจองสั้น ๆ แบบร้อยกรอง เนื้อหาของปริศนาจะซ่อนจุดสำคัญของปัญหาไว้ในคำเหล่านั้น เรียกว่าซ่อนเงื่อน หรือซ่อนปมของปัญหาที่นำมาทายเพื่อให้เกิดความสนุกในการทายหรือไขปัญหาปริศนาเป็นคำถามที่ผูกขึ้นจากคนและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน
วิธีผูกปริศนาบางครั้งใช้วิธีการเปรียบเทียบเป็นผลให้ผู้ฟังหรือผู้ทายเกิดความคิด เกิดจากเปรียบเทียบในเรื่องของความเหมือนและความแตกต่างก่อให้เกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจ และเกิดความสนุกสนาน
การเล่นปริศนาอาจเป็นการทายด้วยคำพูด ภาพลายแทง บางครั้งปริศนาก็อาจเป็นท่าทางโดยไม่ต้องอาศัยคำพูด เช่น ปริศนาใบ้ (บุปผา ทวีสุข. ๒๕๓๐ : ๗๐)
จุดมุ่งหมายของปริศนาคำทาย
จุดมุ่งหมายของปริศนามีดังนี้
1. เพื่อพักผ่อนหย่อนอารมณ์
2. ส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสติปัญญา
3. เพื่อให้ทราบภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย วัฒนธรรม ความเชื่อ
4. เพื่อสอนให้เด็กรู้จักธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
ลักษณะเนื้อหาของปริศนาคำทาย
เนื้อหาปริศนาคำทายส่วนใหญ่จะผูกเป็นเรื่องสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัว เช่น เรื่องดินฟ้าอากาศ พืช สัตว์ สิ่งของ เครื่องใช้ ที่อยู่อาศัย งานอาชีพ ความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณี
การเล่นปริศนาคำทาย
ปริศนาคำทายของไทยเรามีการเล่นอยู่ทั่วไปทุกท้องถิ่น ลักษณะการเล่นก็คล้ายๆ กัน เป็นเเต่ใช้ถ้อยคำแตกต่างกันไปตามภาษาถิ่น การเรียกชื่อการเล่นผิดเพี้ยนกัน เช่น ภาคเหนือ เรียกว่าเล่นตวาย ภาคอีสาน เรียกกันว่า คำทวย การขึ้นต้นปริศนาก็ขึ้นต่างกันดังนี้
ภาคกลาง จะขึ้นต้นทายว่า อะไรเอ่ย เช่น อะไรเอ่ย ที่ลุ่มมีหนอง ที่ดอนมีน้ำ
(รังผึ้ง)
ภาคเหนือ ขึ้นต้นทายว่า อะหยังเอ๊าะ เช่น อะหยังเอ๊าะ ไก่แม่ลายตายแจ้น้ำ (ไซ)
ภาคอีสาน ขึ้นต้นทายด้วยคำถามว่า แม่นหยัง หรือ แม่นหยังเอ่ย เช่น แม่นหยังเอ่ย
ตัดกก บ่ตาย ตัดปลายบ่เหี่ยว (ผม) แม่นหยังเอ่ย บาดไปท่อไฮ่นา
บาดมาท่อก้อนเส้า (แห)
ภาคใต้ ขึ้นต้นคำทายว่า การั่ย หรือ ไอ้ไหรหา เช่น ไอ้ไหรหา เสาสองเสา
จากสองตับนอนไม่หลับลุกขึ้นร้องเรือ (ไก่)
ระยะเวลาและวิธีการเล่นปริศนาคำทาย
การเล่นปริศนา เวลาที่เล่นโดยทั่วไปมาเล่นรวมกลุ่มกัน ในเวลาพักผ่อน เช่น หลังจากรับประทานอาหารเย็น เวลาว่างจากการงาน หรือ เวลาที่มีงานที่มีคนมารวมกัน เช่น ในงานตรุษสงกรานต์ งานบวชนาค งานศพ หรือทำบุญต่าง ๆ
วิธีการเล่นทายปริศนาอะไรเอ่ย ทุกท้องถิ่นมีลักษณะคล้าย ๆ กัน คือ แบ่งเป็นสองฝ่ายพลัดกันเป็นฝ่ายถามกับฝ่ายตอบ ถ้าถามแล้วตอบไม่ได้ก็จะมีการบอกใบ้กันบ้าง และหากบอกใบ้แล้วยังตอบไม่ได้ผู้ตอบจะต้องยอมแพ้ ทางภาคเหนือเรียกว่า เน่า ภาคกลางเรียกว่า ยอม ภาคอีสาน เรียกว่า ยอม ฝ่ายถามจะเฉลยคำตอบต่อเมื่อต้องทำตามข้อแม้ต่าง ๆ เช่น เขกเข่า ให้กินน้ำ กินขนมจนเกินอิ่มหรือให้สัญญาต่าง ๆ มากมาย
ลักษณะโครงสร้างปริศนาและการใช้ถ้อยคำ
โครงสร้างปริศนา การทายปริศนาอะไรเอ่ยจะมี ๓ ส่วน คือ
๑. ส่วนนำ คือ คำถามที่ว่า อะไรเอ่ย ตอนขึ้นต้นต้องขึ้นอย่างนี้ทุกครั้งเพื่อเป็นคำถามนำให้ผู้ตอบได้เตรียมตัวตั้งใจฟังปริศนาให้ชัดเจน เพื่อจะคิดตอบคำถาม
๒. ส่วนเนื้อหา คือ ตัวปริศนา ซึ่งจะบอกถึงลักษณะของสิ่งที่ทาย โดยเปรียบเน้นที่รูปร่างลักษณะพิเศษ ประโยชน์ใช้สอย ความหมาย หรือลักษณะต่าง ๆ เช่น ขนาด นิสัย กลิ่น เสียง หรือกิริยาอาการต่าง ๆ ของสิ่งที่เป็นตัวปริศนาที่นำมาเป็นคำทาย
๓. ส่วนลงท้าย คือ ส่วนที่ขยายความ บอกใบ้คำตอบ เร่งเร้าให้คิดทายหรือให้กำลังใจให้รางวัลแก่ผู้ตอบ ส่วนที่สามของปัญหานี้อาจไม่มีก็ได้ หรือบางทีกลับไปมีบอกใบ้ใช้ตอบกันแทนดังตัวอย่าง
อะไรเอ่ย งูอยู่ในหนอง คาบทองเอามาให้ น้ำแห้งทองหาย เป็นอะไรทายมา (ตะเกียง)
ควมทวยอีสาน
ปริศนาคำทายมีหลายประเภท เช่น ปริศนาหมวดพืช เป็นการเล่นเพื่อให้เด็กเรียนรู้ถึงลักษณะของพืชที่ใช้เป็นอาหารและเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิต ตัวอย่าง
ภาคอีสาน ๑. งัวอีเขียวผูกหลักจุ้มตอเดียวกัน แม่นอีหยัง
เทียบภาษากลาง วัวอีเขียวผูกหลักรวมกันที่ตอเดียว คืออะไร
คำเฉลย คือ มะละกอ
ภาคอีสาน ๒. ห้อยอยู่หลักตักกะเต็ม บ่ตักกะเต็ม แม่นอีหยัง
เทียบภาษากลาง ห้อยอยู่หลักไม่ต้องตักก็เต็ม คืออะไร
คำเฉลย คือ มะพร้าว
ภาคอีสาน ๓. เหล็กแดง ๆ แทงดิน คืออะไร
เทียบภาษากลาง เหล็กแดงแทงดิน คืออะไร
คำเฉลย คือ หัวมันแกวหรือหัวมันเทศ
ปริศนาคำทายหมวดสัตว์ เป็นการให้ความรู้เรื่องสัตว์วิทยาเบื้องต้นแก่เด็ก คือ ฝึกให้เด็กรู้จักสังเกตลักษณะนิสัยใจคอของสัตว์แต่ละชนิด เช่น
ภาคอีสาน ๑. เฒ่าอันหนึ่งลงมาแต่ฟ้า บ่กินปลา บ่กินเอี่ยน นอกหมู่นั้น
กินเผี่ยนซู่แนว แม่นอีหยัง
เทียบภาษากลาง เฒ่าหนึ่งลงมาจากฟ้า ไม่กินปลา ไม่กินปลาไหล นอกนั้น
กินหมดทั้งสิ้น คืออะไร
คำเฉลยคือ - อีแร้ง
ภาษาอีสาน ๒. เฒ่าอันหนึ่งมาแต่ฟ้า ขาแข้งเป็นหนาม แม่นหยัง
เทียบภาษากลาง เฒ่าหนึ่งมาจากฟ้า แข้งขาเป็นหนาม คืออะไร
คำเฉลย - ตั๊กแตน
ภาษาอีสาน ๓. มาแต่เมืองล่างต้างเอาหัวย่างต่างตีน แม่นหยัง
เทียบภาษากลาง มาจากเมืองล่างเอาหัวเดินต่างตีน คืออะไร
คำเฉลย - หอย
ภาษาอีสาน ๔. ยืนต่ำนั่งสูง แม่นหยัง
เทียบภาษากลาง ยืนต่ำนั่งสูง คืออะไร
คำเฉลย - หมา หรือสุนัข
ปริศนาคำทายหมวดปรากฎการณ์ธรรมชาติ เป็นการสอนวิทยาศาสตร์เบื้องต้นแก่เด็ก เช่น
ภาคอีสาน ๑. คนสามร้อยฆ่าเด็กน้อยบ่ตาย แม่นหยัง
ภาษากลาง คนสามร้อยฆ่าเด็กน้อยไม่ตาย คืออะไร
คำเฉลย - เงา
ภาษาอีสาน ๒. สุกเต็มดินเก็บกินบ่ได้ แม่นหยัง
ภาษากลาง สุกเต็มดินเก็บกินไม่ได้ คืออะไร
คำเฉลย - แสงแดด
ภาษาอีสาน ๓. สุกเต็มฟ้ากาตอดบ่เหมิด แม่นหยัง
ภาษากลาง สุกเต็มฟ้ากาจิกไม่หมด คืออะไร
คำเฉลย - ดาว
ปริศนาคำทายหมวดอวัยวะ เป็นการฝึกให้เด็กรู้จักส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น
ภาษาอีสาน ๑. ตัดกกบ่ตาย ตัดปลายบ่เหี่ยว แม่นหยัง
ภาษากลาง ตัดโคนไม่ตาย ตัดปลายไม่เหี่ยว คืออะไร
คำเฉลย - เส้นผม
ภาษาอีสาน ๒. เฒ่าสองเฒ่าบังแล้วบ่เห็นกัน แม่นหยัง
เฒ่าสองเฒ่าบังแล้วไม่เห็นกัน คืออะไร
คำเฉลย - ใบหู
นอกจากนี้ ยังมีปริศนาคำทายหมวดต่าง ๆ เช่น หมวดฝึกการเล่นคำ หมวดฝึกเชาว์และหมวดสิ่งของเครื่องใช้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ปริศนาคำทายหมวดพืช
1. ต้นท่อครกใบปกดิน ต้นท่อขาใบวาเดียว (ตะไคร้ ต้นกล้วย)
2. ไก่บักลายตายอยู่ป่าอ้อย คนสามร้อยปาดกินบ่เหมิด แม่นหยัง (บักนัด หรือสับปะรด)
3. ต้นท่อลำหวาย ใบท่อตีนช้าง แม่นหยัง (บัว)
4. แต่น้อย ๆ มันนุ่งผ้าเหลือง ใหญ่ขึ้นมาละผ้าถิ่ม แม่นหยัง (หน่อไม้)
5. แก่นอยู่นอก อ่อนอยู่ใน แม่นหยัง (มะพร้าว)
6. ม้าอีขาวหางยาวต้วยก้น แม่นหยัง (ต้นกล้วย)
7. หัวดำคือกา มีงาคือช้าง มีปีกมีหางคือนางมโนราห์ แม่นหยัง (ดอกจาน หรือทองกวาว)
8. สี่บาทพาดฮั่ว แม่นหยัง (ผักตำลึง)
9. สีหยังผู้เฒ่ามักที่สุด (สีเสียด)
10. ตกปุกข้างซี่บ่ให้ว่าขี้ซ้าง แม่น อีหยัง (มะเฟือง)
11. ต่ำต้อม่อมีข้อสุตา แม่นหยัง (สับปะรด)
ปริศนาคำทายหมวดสัตว์
1. เดือนสามค่อย งัวอีแดงออกลูกดอน แม่นหยัง (ไข่มดแดง)
2. อีหลังขดขี่เฮือลอดพุ่ม แม่นหยัง (กุ้ง)
3. อีน้อย ๆ นุ่งซิ่นหมี่แดง ยามเมื่อแลงแล่นเข้าพุ่ม แม่นหยัง (แย้)
4. ม้าอีลายหากินแต่หญ้า น้ำบ่กิน แม่นหยัง (ตัวม่อน หรือ ตัวหม่อน)
5. ไข่เอิ้นต่างแม่ แม่นหยัง (ขี้ไข่ขาง หรือ ไข่แมลงวัน)
6. ไฟไหม้ป่าบ่ไหม้หมกเห็ด แม่นหยัง (โพนปลวก หรือ จอมปลวก)
7. มาแต่เมืองล้างต้างเอาหัวย่างต่างตีน แม่นหยัง (หอย)
8. สี่ตีนเดินมา หลังคามุงกระเบื้อง แม่นหยัง (เต่า)
9. ผู้อยู่โคกปั้นถ้วย ผู้อยู่ห้วยสานมอง ผู้อยู่หนองกองก้น แม่นหยัง (มดดำ แมงมุม หอย)
ยืนต่ำนั่งสูง แม่นหยัง (หมา หรือสุนัข)
10. เฒ่าอันหนึ่งลงมาแต่ฟ้า บ่กินปลา บ่กินเอี่ยน นอกหมู่นั้นกินเหี่ยนซูแนว (อีแร้ง)
11. เฒ่าอันหนึ่งมาแต่ฟ้า ขาแข้งเป็นหนาม แม่นหยัง (ตั๊กแตน)
ปริศนาคำทายหมวดอวัยวะ
1. เฒ่าสองเฒ่านั่งเฝ้าปืนกล แม่นหยัง (ไข่หำ หรือ ลูกอัณฑะ)
2. เฒ่าอันหนึ่งพายถงสองหน่วย แม่นหยัง (อวัยวะเพศชาย)
3. น้อยแล้วใหญ่ ใหญ่แล้วต่ำ ดำแล้วขาว ยาวแล้วสั้น แม่นหยัง (คน) (คน) (เส้นผม) (สายตา)
4. น้ำพอกินแต่บ่พออาบ แม่นหยัง (น้ำนม)
5. น้ำพออาบแต่บ่พอกิน แม่นหยัง (เหงื่อ)
6. กินทางนอกปอกทางใน แม่นหยัง (ไต)
7. กกฮกปลายแปน แม่นหยัง (อวัยวะเพศชาย)
8. สองคนแล่นมา ห้าคนแล่นฮับ แม่นหยัง (น้ำมูก)
9. เฒ่าสองเฒ่าบังเล้า บ่เห็นกันจักเทือ แม่นหยัง (ใบหู)
10. ตักกกบ่ตาย ตัดปลายบ่เหี่ยว แม่นหยัง (เส้นผม)
11. หมอยแยมแยะ แป๋กันมีแฮ้งมีแฮง แม่นหยัง (ตา, หลับนอน)
ปริศนาคำทายหมวดวัสดุเครื่องใช้
1. อีหยังหูอยู่เทิงหัว มีตาเต็มโต (แห)
2. อ้อล่อท่อลำพุ แตกปุ๋ท่อไฮนา (แห)
3. ฟาดไปท่อไฮนา ฟาดมาท่อก้อนเส้า แม่นหยัง (แห)
4. อีอันหนึ่งถือแพแดงพาดบ่า ขึ้นไปด่าเฮือนนั่นเฮือนนี่ (อิ้ว หรือ เครื่องปั่นฝ้าย)
5. ซ้างขึ้นภูตบหูปั๊วะปั๊วะ แม่นหยัง (ฟืมหรือหูกทอผ้า)
6. บักขี้คร้านนั่งท่าอยู่เฮือน แม่นหยัง (โอ่ง, ตุ่มน้ำ)
7. บักหัวโหล่นโตนน้ำแต่เดิ๊ก แม่นหยัง (กระบวย)
8. คุกลุกข้างเล้า แม่นหยัง (ครกมอง, ครกตำข้าว)
9. เฒ่าสามเฒ่านั่งเฝ้าคิงไฟ แม่นหยัง (ก้อนเส้า)
10.
11. สี่ตีนตั้งธรณีย่องแย่ง อ้าปากขึ้นเทิงฟ้าคาบงา แม่นหยัง (ข้อง)
12. คนเฮ็ดบ่ได้ใช้ คนใช้บ่ได้เฮ็ด แม่นหยัง (โลงศพ)
13. ซกงกคือคอม้า ไปค้าบ่เห็นฮอย แม่นหยัง (เรือ)
ปริศนาคำทายหมวดปรากฎการณ์ธรรมชาติ
1. โก่งโข้งโน่ง ข่วมท่งสามแสน ไผทวยถืกได้แหวนวงหนึ่ง (รุ้งกินน้ำ)
2. สุกเต็มดินเก็บกินบ่ได้ แม่นหยัง (แสงแดด)
3. สุกเต็มฟ้ากาตอดบ่เถิง (ดาว)
4. หมากลุกพุกตกปุ๊กกลางหนอง ขี่งัวทองลงไปเอากะบ่อได้ (พระอาทิตย์)
5. สูงท่อภูเขียวกินผู้เดียวเหมิดเมือง แม่นหยัง (กบกินเดือน, จันทรุปราคา)
6. นั่งใกล้กันบ่จาบ่ปาก ถามกะยากทั้งปากบ่ตีง แม่นหยัง (เงา)
7. คนสามร้อยฆ่าเด็กน้อยบ่ตาย แม่นหยัง (เงา)
8. สูงกว่าน้ำ ต่ำกว่าเฮือ แม่นหยัง (ขี้ตมปวก, พรายน้ำ)
ปริศนาคำทายหมวดปัญหาเชาว์
1. นกบินมาสิบโตตำตอตาย เหลือจักโต (สิบตัว)
2. ไก่ก้าวขามีจักโต (ตัวเดียว)
3. เฒ่าอันหนึ่งขี่ม้าไป เฮ็ดจังใด๋สิหลบคืนมาได้ (ลบไม้โทออก)
4. สีหยังเฮ็ดให้คนยักษ์รบกัน (สีดา)
5. พระย่านสีหยัง (สีกา)
6. ต้นอีหยังมีสองกอ (ต้นกก)
7. ต่ำกว่าหญ้าสูงกว่าดิน แม่นหยัง (ภูเขา)
8. ฉันอยู่กรุงเทพฯ เหมือนอยู่ลพบุรี ฉันชื่อปราณี แฟนฉันชื่อหยัง (ชื่อเหมือน)
9. สีอีหยังคนไทยซังที่สุด (สีหนุ)
10. เข้าแปดออกสิบเอ็ด แม่นหยัง (เข้าพรรษา ออกพรรษา)
ปริศนาคำทายหมวดปัญหาการเล่นคำ
1. ขึ้นไปภูหักไว้หักไว้ แม่นหยัง (ไหวากหรือไหปากวิ่น)
2. สีอีหยัง ผู้เฒ่ามักหลาย (สีเสียด)
3. สีอีหยัง คนไทยซังที่สุด (สีหนุ)
4. ไฟไหม้ป่า บ่ไหม้ คูหนอง แม่นหยัง (คองหนู, ทองหนู)
5. ม้าอีขาวหางยาว ต้วยก้น แม่นหยัง (ต้นกล้วย)
6. ขู่หลู่อยู่ ไหฮั่ว คืออีหยัง (หัวไฮ, หัวไร่)
7. กองจอง มีแข่ว คืออีหยัง (แมวขี่, แมวขี้)
8. ตกปุ๊ ข่างซี่ คืออีหยัง (ขี่ซ่าง, ขี้ช้าง)
9. ปูแหนว คือ อีหยัง (แปวหนู, รูหนู)
คุณค่าของปริศนาคำทาย
ปริศนาคำทายมีคุณค่ามากมาย มีรายละเอียดดังนี้
๑. คุณค่าในด้านความบันเทิง ปริศนาคำทายเป็นการเล่นเพื่อการพักผ่อนในยามว่าง ผู้ทายจะรู้สึกสนุกสนานตรงที่ได้คิดตีปริศนาคำทายที่มีผู้ผูกไว้ ความตื่นเต้นอยู่ที่การได้รับคำตอบว่าผิดหรือถูก ตลอดจนการเล่นคำ เล่นอักษรของคำทายปริศนาด้วย ตัวอย่างเช่น
สุกคุ้ม สุกเคลือ สุกยอด สุกเซน สุกต้นเต้น สุกไกล สุกข้อ สุกหนาม สุขก้นขัน (หมากเขือ หมากหลอด หมากเป็น หมากส้าน หมากไฟ หมากค้อ หมากขาม หมากมี้ หมากพริก)
๒. คุณค่าในด้านวัฒนธรรมและประเพณี คือช่วยสะท้อนสภาพความเป็นอยู่เกี่ยวกับสังคม เช่น อาหารการกิน สิ่งของเครื่องใช้ ศาสนาและประเพณี ตลอดจนการละเล่นต่าง ๆ ซึ่งสืบทอดกันมา ตัวอย่าง เช่น
เข้าแปดออกสิบเอ็ด แม่นหยัง (เข้าพรรษา ออกพรรษา)
คนเฮ็ดบ่ได้ใช้ คนใช้บ่ได้เฮ็ด แม่นหยัง (โลงศพ)
คุกลุกเข้าเล้า แม่นหยัง (ครกมอง, ครกตำข้าว)
บักขี้คร้านนั่งท่าอยู่เฮือน แม่นหยัง (โอ่ง, ตุ่มน้ำ)
อีหยังหูอยู่เทิงหัว มีตาเต็มโต (แห)
๓. คุณค่าด้านภาษา ปริศนาแสดงออกถึงลักษณะการใช้ภาษาในหลายรูปแบบ เช่น เป็นร้อยกรอง คำผวน คำสองแง่สองง่าม และคำเปรียบเทียบ ตัวอย่าง เช่น
ม้าอีขาวหางยาวต้วยก้น แม่นหยัง (ต้นกล้วย)
ขู่หลู่อยู่ไหฮั่ว คืออีหยัง (หัวไฮ, หัวไร่)
ไผมากะยอก ๆ เข่าบ่เข่าให้คลำเบิ่ง แม่นหยัง (ลับมีด)
จับขาหง่าง เอาบั๊กแดงยัดใส่ (มีดสะนากหนีบหมาก)
๔. คุณค่าด้านการศึกษาอบรม ปริศนาช่วยฝึกให้คนคิดเป็น และแก้ปัญหาเป็น เป็นการฝึกสติปัญญาให้แก่เด็ก อบรมให้เด็กรู้จักสังเกตและสนใจสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น
ผู้อยู่ฮิมห้วยสานมอง ผู้อยู่หนองกองก้น (แมงมุม, หอย)
สุกบ่หวาน บานบ่หอม (พริก, ดอกฝ้าย)
บ่มีตีนขึ้นผา บ่มีตาขึ้นไม้ บ่มีไส้กินคน บ่มีขนเกือกม่อง (งู, เครือวัลย์, มีด, จอง (กระจ่า) )
๕. คุณค่าสะท้อนให้เห็นสภาพสังคมสิ่งแวดล้อม ดังรายละเอียด
๕.๑ การสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยในชนบทอีสานจะมีการสร้างเรือนเป็นเรือนไม้มีเสาสูง มุงด้วยแฝกหรือหญ้าคา ตัวอย่างเช่น
จับหลิด ติดปัก (ไม้ขัดตาหนู)
มีกกบ่มีใบ มีใบบ่มีตา (ต้นเสา ใบพาย)
5.2สะท้อนให้เห็นเครื่องใช้ที่สำคัญ ได้นำมาผูกเป็นปริศนา ดังตัวอย่าง
มีหูสองหู หม่องกลางเป็นหลุม (หม้อ)
ซ้างสามขา พญาดำขึ้นขี่ ปี่น้อยเสพนำ (ก่อนเส้า หม้อนึ่ง)
หน่าสั่นฟันขาว มักกินนำยอดภูเขา (ขวาน)
5.3สะท้อนให้เห็นเครื่องมือการประกอบอาชีพ เพื่อให้ครอบครัวมีความสุข
ดังตัวอย่าง
ใบอยู่ใต้ฮาก หมากอยู่ใต้ดิน (ไถ)
เถ้าแก่หลังโกง ลงน้ำบ่ขุ่น (เบ็ด)
แม่ฮ้อง ลูกออกหากิน (ปืน)
บักน้อย ๆ แก่ไส้ลอดขอน (กระสวย)
๕.๔ ปริศนาคำทายบอกถึงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ บอกถึงสติปัญญาความเป็นคนช่างสังเกตของคนอีสาน สามารถนำเอาธรรมชาติที่มีมาผูกเป็นปริศนา ทั้งที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ลักษณะของพืช สัตว์ ตัวอย่างเช่น
สุกเต็มดิน เก็บกินบ่หมด (แสงแดด)
เห็นบ่เอา เอาบ่กิน กินบ่ขี่ ขี่บ่เหม็น (ตา มือ ปาก ก้น)
หีบน้อย ๆ ใส่ผ่าเหลือง คนหมดเมืองไขบ่ออก (ไข่)
บ่มีขา มีแต่หัว กะหย่างได้ (หอย)
ต้นท่อเข็ม ใบเต็มน้ำ (ผักแว่น)
๕.๕ ปริศนาคำทายที่บอกถึงวัฒนธรรมความเชื่อ ปริศนาคำทายประเภทนี้เกิดขึ้นได้ เพราะคนในท้องถิ่นมีความเชื่อถือศรัทธาในลัทธิศาสนาเดียวกัน จะเห็นว่าคนในภาคอีสานนับถือพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำภาค ตัวอย่างเช่น
คนสามบ้านกินน่ำส่างเดียว บ่เหยียบฮอยกัน (พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์)
แดง ๆ อยู่ในถ้ำ ฝนบ่ฮำจั๊กเทือ แดดกล้า ๆ เดือนห่าจังคอยฮำ (พระพุทธรูป)
๕.๖ ปริศนาคำทายบอกความสามารถทางภาษา การสื่อความหมายในด้านภาษานำมาผูกเป็นปริศนาเล่นกัน ทำให้มีชีวิตชีวา ดังตัวอย่าง
ฮ่องแฮงฮังนกเขา เฮือนสี่เสาห่าห่อง ไม่ปล้องเดียวพันงา
หมาโตเดียวพันแข่ว แก้วหน่วยเดียวพันแสง แกงต่อนเดียวพันถ่วย
กล้วยหน่วยเดียวพันหวี ปลีฮวงเดียวพันกาบ
(สวิง กี่ตำหูก รุ้งกินน้ำ ฟืม ดวงอาทิตย์ ปูน (กินหมาก) ปลีกล้วย พลับพลึง)
สุกแคะ สุกขา สุกคาฮัง สุกคาฮู
หย่างตั้บ ๆ ปิ้นโต แม่นหยัง (โป้ตีน)
ม้าอีขาวหางยาวต้วยก้น แม่นหยัง (ต้นกล้วย)
ตกปุ๊กข่างซี้ (ขี้ซ้าง)
(ขนมครก ข้าวเกรียบว่าว ขนมรังผึ้ง ข้าวหลาม)
ห่อนึงพันหัว หัวหนึ่งพันปาก หน่าผากพันฮอย แม่นหยัง
(รังมดแดง จอมปลวก เขียง)
ลักษณะคำประพันธ์ของปริศนาคำทาย
รูปแบบของปริศนาคำทาย มีรูปลักษณะเป็นประโยคหรือกลุ่มคำสั้น ๆ ที่มีสัมผัสสระคล้องจองกันทั้งที่เป็นข้อความตอนเดียวและหลายตอน ส่วนที่ไม่มีสัมผัสคล้องจอง มีอยู่เป็นจำนวนน้อย และมักเป็นข้อความสั้น ๆ เพียงตอนเดียว
การใช้ภาษาในปริศนาคำทาย
๑. การใช้คำง่าย ๆ ในปริศนาคำทาย เหมาะสำหรับคนทุกวัย ทุกระดับ คำที่ใช้จึงเรียบง่ายสื่อความหมายได้โดยไม่ต้องแปลศัพท์ เช่น
อะไรเอ่ย หูอยู่ในหนอง คาบทองเอามาให้ น้ำแห้งทองหาย เป็นอะไรทายมา (ตะเกียง)
น้ำพอกินแต่บ่พออาบ แม่นหยัง (น้ำนม)
ต่ำกว่าหญ้าสูงกว่าดิน แม่นหยัง (ภูเขา)
๒. การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ ปริศนาคำทายนอกจากมีคำเรียบง่ายแล้ว ยังให้ความรู้สึกในด้านเสียง โดยเลียนเสียงธรรมชาติ
ซ้างขึ้นภูตบหูปั๊วะปั๊วะ แม่นหยัง (ฟืมหรือหูกทอผ้า)
ตกปุ๊ข่างซี่คืออีหยัง (ขี่ซ้าง)
จับหาง ฮ้อง ฮ๊วก (หน่อไม้)
แม่มันฮ้อง อี้อี้ ลูกมันพีอั้นตั้น (ไน)
๓. ใช้คำแสดงภาพเคลื่อนไหว ผู้ฟังปริศนาจะเกิดภาพพจน์ตามไปด้วย ช่วยให้เกิดความสนุกสนานในการทาย ตัวอย่างเช่น
บักน้อย ๆ ถือแพแดงลอดพุ่ม (มดแดง)
เฒ่าสองเฒ่า แล่นออกนอกชาน (ขี้มูก)
ไผกะมายอก ๆ เข่าบ่เข่าให้คลำเบิ่ง แม่นหยัง (ลับมีด)
เซ่า ๆ เข้าถ้ำ ค่ำออกมาเรียงราย (ดาว)
๔. การเล่นคำเล่นอักษร นำภาษามาใช้เล่นคำเล่นอักษร คล้องจองกัน เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน ตัวอย่างเช่น
ไม่ปล้องเดียวพันงา หมาโตเดียวพันแข่ว แก้วหน่วยเดียวพันแสง แกงต่อนเดียวพันถ่วย
กล้วยหน่วยเดียวพันหวี ปลีฮวงเดียวพันกาบ (รุ้งกินน้ำ ฟืม ดวงอาทิตย์ ปูน (กินหมาก) ปลีกล้วย พลับพลึง)
เห็นบ่เอา เอาบ่กิน กินบ่ขี่ ขี่บ่เหม็น (ตา มือ ปาก ก้น)
สุกแคะ สุกขา สุกคาฮัง สุกคาฮู (ขนมครก ข้าวเกรียบว่าว ขนมรังผึ้ง ข้าวหลาม)
๕. การใช้ปริศนาที่เป็นโวหาร ปริศนามีการใช้โวหารดังนี้
5.1โวหารอุปมา
ดำคือกา บินมาคือนก มีศรเสียบอก (แมงตับเต่า)
เทิ้กเลิ้กคือคอม้า ไปค้าบ่อเห็นฮอย (เรือ)
ซวยล้วยคือใบพลู ฮูยูปาก (ไม้จิ้มปูน)
บานแดงแล้ว บานเขียวสับเปลี่ยน บานเขียวแล้ว ดำซ้ำตื่มมา
บาดห่าอ้าปีกขึ้นขาวฟุ้งดังนกยาง (นุ่น)
ยามแล้งเข้าถ้ำ ยามฝนเดินจร เกล้าผมเหมือนมอญ นามกรว่ากระไร (หอย)
5.2โวหารอุปลักษณ์ ตัวอย่างเช่น
บาดไปท่อไฮ่นา บาดมาท่อก้อนเซ่า (แห)
ต้นทอเฮีย ใบท่อเกียบ่ได้ แม่นหยัง (ใบมะขาม)
5.3โวหารเกินจริง ตัวอย่างเช่น
คนสามร้อยฆ่าเด็กน้อยบ่ตาย แม่นหยัง (เงา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น