วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2557

แบบทดสอบ เรื่อง การแต่งฉันท์



1.  ข้อใดเป็นลักษณะคำประพันธ์ประเภทฉันท์ไทยที่ต่างจากการแต่งฉันท์ของอินเดีย
    ก.  การใช้ครุ ลหุ
    ข.  ลักษณะของฉันท์       
         ค.  การใช้เสียงสัมผัส
         ง.  การใช้คำบังคับคณะ

2.  คำประพันธ์ชนิดใดที่นำมาแต่งสลับกับฉันท์
    ก.  ร่าย                         ข.  โคลง
    ค.  กลอน                       ง.  กาพย์

3.  วรรณคดีสโมสรยกย่องวรรณคดีคำฉันท์เรื่องใด           
    เป็นยอดของกลอนฉันท์
    ก.  อนิรุทธ์คำฉันท์                                            
    ข.  สมัทรโฆษคำฉันท์
    ค.  สรรพสิทธิ์คำฉันท์                                              
    ง.  กฤษณาสอนน้องคำฉันท์

4.  ข้อใดกล่าวถึงครุ ลหุได้ถูกต้อง
    ก.  พยางค์หรือคำที่มีเสียงหนักเบา
    ข.     พยางค์หรือคำที่ทำให้เกิดสัมผัส
    ค.     พยางค์หรือคำที่บังคับด้วยเสียงสระ                   
    ง.  พยางค์หรือคำที่ประสมกับเสียงวรรณยุกต์

5.  พยางค์หรือคำในข้อใดที่มีครุ ลหุต่างจากข้ออื่น
    ก.  ระเรื่อยะแย้มแก้มนาง
    ข.  จิตเรียกพระพุทธองค์
    ค.  วิเวกวะแว่วยินเสียง                                   
    ง.  ลุล่วงอุทัยลดโลก


6.  คำประพันธ์ประเภทฉันท์ใดที่นิยมแต่งบทอาเศียรวาท
    ก.  โตฎกฉันท์ 12          
    ข.  อีทิสังฉันท์ 20
     ค.  ภุชงคประยาตฉันท์ 12                               
         ง.  สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ 19

7.  ฉันท์ชนิดใดที่ใช้แต่งเรื่องที่แสดงความคิดวิตกหรืออารมณ์
    ตื่นเต้น
    ก.  อีทิสังฉันท์ 20           ข.  โตฎกฉันท์ 12
    ค.  มาณวกฉันท์ 8           ง.  วสันตดิลกฉันท์ 14
   
8.  ฉันท์ชนิดใดที่มีลีลาประดุจนายโคบาลผู้แทงโคด้วยประตัก
    ก.  สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ 19  
    ข.  ภุชงคประยาตฉันท์ 12
    ค.  โตฎกฉันท์ 12           
    ง.   อีทิสังฉันท์ 20
แปลกแปลงแสดงพจนเพรงเชลงลักษณะบรรยายชาวชน
บทธิบาย

9.  ข้อความดังกล่าวเป็นคำประพันธ์ฉันท์ประเภทใด
    ก.  สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ 19  
    ข.  อินทรวิเชียรฉันท์
    ค.  วสันตดิลกฉันท์ 14     
    ง.   อีทิสังฉันท์ 20
ศุภมงคลเหตุวรเชษฐ์ภคินีก็ประณตบทศรีศิระรับ

  10. ข้อความดังกล่าวเป็นคำประพันธ์ฉันท์ประเภทใด
    ก.  อีทิสังฉันท์ 20           ข.  โตฎกฉันท์ 12
    ค.  มาณวกฉันท์ 8           ง.  วิชชุมมาลาฉันท์

7 ความคิดเห็น: