วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

หมอลำ

ความหมายของหมอลำ
          นักวิชาการได้ให้ความหมายของหมอลำหลายท่านดังนี้
          เจริญชัย  ชนไพโรจน์ (๒๕๒๖ : )  หมอลำหมายถึงผู้เชี่ยวชาญในการลำซึ่งใช้แคนเป่าคลอประสานเสียง
          จารุวรรณ ธรรมวัตร  (... : ๒๒)  หมายถึง การขับลำนำด้วยภาษาถิ่นอีสานประกอบเสียงดนตรีที่เรียกว่าแคน
          บุญเรือง  ถาวรสวัสดิ์ (๒๕๒๑ : ๔๑) หมายถึง การร้องทำนองกลอนในหนังสือผูกคนที่สามารถจดจำคำกลอน ในหนังสือวรรณคดีได้เป็นเรื่องเป็นราวจึงถือว่าเป็นคนเก่งที่เรียกว่า หมอลำ      สรุปได้ว่า หมอลำเป็นการแสดงพื้นบ้านอีสานอย่างหนึ่งที่อาศัยการขับลำนำด้วยภาษาถิ่นอีสานประกอบดนตรีพื้นบ้านที่เรียกว่า "แคน" เป่าคลอประสานเสียง

กำเนิดของหมอลำ
          หมอลำกำเนิดขึ้นครั้งแรกเมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่ชัด  เพราะไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร  แต่ได้มีการสันนิษฐานไว้ ประการ คือ
          .  หมอลำน่าจะเกิดจากความเชื่อเรื่อง "ผีฟ้า ผีแถน และผีบรรพบุรุษ"  ซึ่งชาวบ้านเชื่อกันว่า ผีเหล่านี้มีอำนาจเหนือธรรมชาติสามารถบันดาลให้เกิดภัยธรรมชาติและความเจ็บป่วยแก่มนุษย์ได้  มนุษย์จึงได้จัดพิธีกรรมรักษาผู้ป่วยตามวิธีการของหมอผี คือการลำผีฟ้า ลำส่อง ลำทรง ต่อมาได้พัฒนาการลำมาเป็น "ลำพื้น" และ "ลำกลอน" ตามลำดับ
          .  หมอลำอาจจะเกิดจากธรรมเนียมการอ่านหนังสือผูก  หนังสือผูกคือวรรณกรรมพื้นบ้านที่จารลงในใบลาน  เรื่องราวที่บันทึกอาจเป็นชาดกหรือนิทานพื้นบ้าน เป็นต้นว่า  เรื่องการะเกิด สังข์-สินชัย เสียวสวาสดิ์  ผู้อ่านหนังสือผูกต้องสามารถอ่านหนังสือได้อย่างแตกฉานจนสามารถจดจำเรื่องราวต่าง ได้อย่างขึ้นใจ แล้วจึงนำมาเล่าสู่กันฟัง  ลักษณะการเก็บหนังสือผูก คนโบราณใช้วิธีเอาลำไม้ไผ่มาทะลุปล้องแล้วสอดหนังสือไว้ข้างใน มีฝาปิดมิดชิดเรียกหนังสือว่า "หนึ่งลำ" ผู้ที่สามารถลำเรื่องราวในหนังสือ "หนึ่งลำ" ได้นั้นเรียกว่า "หมอลำ" หรือ "คนลำ" ดังนั้นคำว่า "หมอลำ" น่าจะเกิดจากหมอลำในวรรณกรรมหนังสือผูกดังกล่าว  


          .  หมอลำน่าจะเกิดจากการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาวเนื่องในโอกาสต่าง เป็นต้นว่า การลงข่วงเข็นฝ้าย  การลงแขกเกี่ยวข้าว และการมีส่วนร่วมในงานนักขัตฤกษ์ต่าง โดยที่หนุ่มสาวได้ีโอกาสสนทนากันด้วยโวหารที่ไพเราะ  และมีความหมายลึกซึ้ง เรียกว่า พูดผญา  หรือจ่ายผญา ต่อมาได้เอาผญาเกี้ยวไปขับลำนำโต้ตอบกัน เกิดเป็น "ลำผญา" และ "ลำกลอน" ขึ้น  ซึ่งการลำผญานี้ลักษณะการแสดงที่คงรักษาเกี้ยวสาวในลานข่วงไว้  โดยผู้แสดงจะนั่งลำ  ไม่ยืนลำเหมือนหมอลำประเภทอื่น (จารุวรรณ  ธรรมวัตร. ... : ๔๑)
          หมอลำในสมัยก่อนไม่ได้มีการแสดงเป็นอาชีพอย่างปัจจุบันนี้  เป็นการแสดงแบบสมัครเล่นสำหรับผู้ที่มีใจรัก  และลำในพิธีกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความเจ็บป่วยในชุมชนนั้น   ครั้นต่อมาหมอลำได้ยึดถือเป็นอาชีพไปแสดงตามสถานที่ต่าง แล้วแต่เจ้าภาพติดต่อมา

ประเภทของหมอลำ
          หมอลำแบ่งออกเป็น ประเภทใหญ่ คือ
1.    หมอลำที่แสดงเพื่อความบันเทิง  ได้แก่  หมอลำกลอน หมอลำเรื่อง  และหมอลำเพลิน
2.    หมอลำที่แสดงในพิธีกรรม  ได้แก่ หมอลำผีฟ้า  หมอลำส่อง  หมอลำทรง  หมอลำที่แสดงเพื่อความบันเทิง
.  หมอลำกลอนเป็นการลำโต้กลอนสดกัน  มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "หมอลำประชัน" การลำมีผู้ลำเพียง คน อาจเป็นผู้ชายล้วน หรือผู้ชายกับผู้หญิงโต้ตอบกัน  เนื้อหาจะกล่าวถึงวัฒนธรรม ประเพณี ประวัติศาสตร์ นิทานพื้นบ้านหรือคติธรรมแก่ชาวบ้าน  เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบคือแคน  หมอลำกลอนยังแยกออกเป็นชนิดต่าง เช่น
     .  ลำคู่  เป็นการลำของหมอลำชาย-หญิงมาลำปะทะคารมกัน  เครื่องดนตรีที่ใช้คือแคน เนื้อหาจะเกี่ยวกับการเมือง  ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์  หมอลำจะต้องมีความรู้ในเหตุการณ์ปัจจุบันเพื่อตอบคำถามของฝ่ายตรงข้ามให้ได้
     .  ลำชิงชู้  การลำประเภทนี้  ใช้ผู้ลำสามคนเป็นหญิงหนึ่ง  ชายสอบ โดยหมอลำฝ่ายชายจะอวดอ้างถึงความดี ความสามารถ ความร่ำรวยของตนเอง  โดยยกตนเองให้เหนือคู่แข่งขันเพื่อให้ฝ่ายสาวคล้อยตามความคิดตนเอง  การลำชิงชู้จะลำจนถึงรุ่งสว่าง  ผู้หญิงอาจตัดสินใจหรือไม่ตัดสินใจก็ได้  การลำชนิดนี้ได้รับความนิยมอยู่เพียงระยะสั้น และเสื่อมความนิยมไป
     .  ลำล่อง  คือลำคนเดียว  อาจเป็นการลำลาหรือพรรณนาถึงสิ่งต่าง ทำให้ผู้ฟังมองเห็นภาพพจน์คล้อยตามไปด้วย  การลำล่องมักลำในเวลาใกล้เลิกการแสดง
.  หมอลำเรื่อง  หมอลำประเภทนี้จะลำเป็นเรื่องราว  เรื่องที่ใช้แสดงมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน เช่น เรื่องท้าวก่ำกาดำ  นางแตงอ่อน  จำปาสี่ต้น  เป็นต้น หมอลำเรื่องแบ่งตามลักษณะการแสดงและการลำได้ ชนิด คือ
              .  หมอลำพื้น  เป็นการลำที่ใช้ผู้ลำเพียงคนเดียว  แสดงเป็นตัวละครทุกตัวอุปกรณ์ในการแสดงคือ  ผ้าขาวม้าหนึ่งผืน  เรื่องที่ใช้ลำเป็นต้นว่า  เรื่องสังข์สินชัย ขูลู-นางอั้ว  จำปาสี่ต้น  ปัจจุบันการแสดงหมอลำพื้นหาดูได้ยากจะปรากฎก็แต่เพียงหมอลำรุ่นเก่าเท่านั้น  
              .  หมอลำหมู่หรือหมอลำเรื่องต่อกลอน  หมอลำชนิดนี้เป็นการแสดงที่ใช้ผู้แสดงจำนวนมาก  บางคณะอาจจะมีจำนวนถึง ๒๐ คน  กล่าวได้ว่าหมอลำหมู่น่าจะเป็นหมอลำที่พัฒนามาจากการแสดงหมอลำพื้นอีกต่อหนึ่ง  โดยได้ปรับปรุงการลำจากการลำเพียงคนเดียวมาเป็นการลำหลายคน การแสดงหมอลำหมู่จะใช้ผู้แสดงสมมติบทบาทเป็นตัวละครตามเรื่อง  ซึ่งส่วนใหญ่จะแสดงเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน  สำหรับดนตรีที่ใช้  ได้แก่แคน  พิณ ซอ และกลอง  ต่อมาหมอลำหมู่ได้นำเอาการแต่งกายและฉากแบบอย่างลิเกมาปรับปรุงการแสดงของตน  ทำให้หมอลำหมู่มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  "ลิเกลาว"
              .  หมอลำเพลิน  เป็นหมอลำเรื่องที่พัฒนาการลำมาจากหมอลำหมู่  โดยได้รับอิทธิพลด้านรูปแบบไปจากเพลงลูกทุ่ง  เดิมจะลำเรื่อง "อีแก้วหน้าม้า"  เพียงเรื่องเดียว ปัจจุบันหมอลำเพลินได้แสดงเรื่องอื่น ด้วย หมอลำเพลินจะมีลักษณะพิเศษที่สังเกตได้ดังนี้
                   ด้านการแต่งกาย  หมอลำเพลินฝ่ายหญิงจะนิยมนุ่งผ้าถุง  หรือกระโปรงสั้น เหนือเข่า  ฝ่ายชายจะแต่งกายคล้ายลิเก  และตัวละครเกือบทั้งหมด จะแต่งกายเหมือนกัน ลักษณะแต่งกายฝ่ายหญิงดังกล่าวทำให้มีผู้เรียกหมอลำเพลินว่า "หมอลำกกขาขาว"
                   ด้านดนตรี  หมอลำเพลินจะใช้เครื่องดนตรีสากล เป็นต้นว่ากีต้าร์  เบส  ออร์แกน กลองชุด เข้ามาผสมผสานกับ พิณ แคน ซอ กลอง ฉิ่ง และฉาบ
                   ด้านท่วงทำนองการลำ  หมอลำเพลินจะมีท่วงทำนองในการลำที่รวดเร็วและกระชับมีจังหวะเร้าใจสนุกสนาน  เรียกทำนองในการลำว่า "ทำนองลำเพลิน"
                   ด้านการแสดง  หมอลำเพลินจะไม่มุ่งในเรื่องความสมจริงหรือการแสดงที่สมบทบาทเท่าใดนัก  แต่จะเน้นการลำและฟ้อนเป็นพื้น  ภายหลังได้นำเอาลักษณะการเต้นตามแบบอย่าง "หางเครื่อง"  ของวงดนตรีลูกทุ่งมาแสดงก่อนการลำเรื่อง  จุดเด่นของหมอลำเพลินคือเครื่องดนตรีและลีลาการแสดง


              .  หมอลำกั๊บแก๊บหรือหมอลำกรับ  หมอลำชนิดนี้เป็นการลำเพียงคนเดียวและใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะในการลำ  โดยที่หมอลำจะถือกรับไว้ในมือทั้งสองข้างเวลาลำจะขยับกรับในมือเป็นจังหวะวาดลวดลายพร้อมกับลำไปด้วย  เนื้อหาของกลอนลำอาจะเป็นคติธรรมทางศาสนา  ขนบธรรมเนียมประเพณี  ตลอดจนการเอานิทานพื้นบ้านมาลำ เช่น เรื่องท้าวเสียวสวาสดิ์ ขูลู-นางอั้ว ผาแดง-นางไอ่ เป็นต้น หมอลำชนิดนี้มักจะแสดงในงานสมโภชหรืองานมงคล ปัจจุบันหมอลำกั๊บแก๊บหาดูได้ยาก
              .  หมอลำแมงตับเต่า  หมอลำชนิดนี้เป็นลำเรื่องที่เก่าแก่  สาเหตุที่เรียกชื่อเช่นนี้เข้าใจว่า  น่าจะเรียกชื่อจากมีสร้อยเพลงตอนหนึ่งกล่าวถึงแมงตับเต่า
                   แมงตับเต่าแมงเม่าขี้หมา
                   จับอยู่ฝาแมงมุมแมงสาบ
                   จับซาบลาบแมงสาบแมงมุม
              หมอลำตับเต่ามีทำนองในการลำอยู่ ทำนอง ได้แก่  ทำนองแมงตับเต่า  ซึ่งเป็นทำนองเร็วมีจังหวะสั้นกระชับ ใช้ลำแทรกให้ตลกสนุกสนานและทำนองโอ่หนังสือ  อันเป็นทำนองที่ช้ามีจังหวะเนิบช้ามักจะใช้ในการดำเนินเรื่องเหมาะสำหรับการลำที่โศกเศร้าและวิงวอน  เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงคือ ซอ ปิ๊บ และแคน  เรื่องที่ใช้แสดงมักจะเป็นนิทานพื้นบ้านหรือชาดกนอกนิบาต  (สุพรรณ  ทองคล้อย. ๒๕๒๔ : ๘๖-๘๘)

หมอลำที่แสดงในพิธีกรรม
              หมอลำผีฟ้า  เป็นการลำที่มีจุดมุ่งหมายสองประการคือ  รักษาคนป่วยและพยากรณ์ดินฟ้าอากาศ  ทำนองลำ  เป็นจังหวะสั้นบ้างยาวบ้าง ดนตรีที่ใช้  แคน และกลอง เนื้อหาของกลอนลำเป็นการกล่าวถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้ลำอัญเชิญให้มาประทับทรงในตัวหมอลำ ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์บอกวิธีรักษาผู้ป่วย ผู้ลำมีเพียงคนเดียว  มีบริวารเป็นผู้ฟ้อนรำประกอบ  ลีลาการฟ้อนรำไม่มีแบบแผนแน่นอน





ทำนองของกลอนลำ

              ทำนองของกลอนลำ  แบ่งได้เป็น ทำนองคือ
              .  ลำทางสั้น  เป็นทำนองลำแบบเนื้อเต็มไม่มีเอื้อนเสียง  ยกเว้นตอนขึ้นต้นความสั้นยาวของพยางค์ต่าง ในกลอนลำจะสม่ำเสมอกัน  เนื้อหามักจะเป็นการโต้ตอบปัญหาทางด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์  วรรณคดี ธรรมะ การเมือง การปกครอง
              .  ลำทางยาว  เดิมเรียกกลอนอ่านหนังสือ  เป็นทำนองลำที่เอื้อนเสียงยาว  จังหวะลีลาช้า ใช้สำหรับลำกลอนลา    เนื้อหาเป็นพวกนิทานพื้นบ้าน รำพันถึงความรัก ความอาลัย เศร้าโศก ผิดหวัง สมหวัง                             
              .  ลำเต้ย  เป็นกลอนลำที่มีทำนองสั้น  กระฉับกระเฉง ไม่เอื้อนเสียง ทำนองลำแสดงอารมณ์รื่นเริงสนุกสนาน ส่วนใหญ่ใช้ในการลำเกี้ยวพาราสี และเสนอสาระที่ต้องการเฉพาะเรื่อง ทำนองมีหลายทำนอง คือ เต้ยโขง เต้ยพม่า เต้ยธรรมดา และเต้ยหัวโนนตาล
              .  ลำเพลิน  เป็นกลอนลำที่มีทำนอง จังหวะเร็ว สนุกสนาน ไม่มีการเอื้อนเสียง ให้ความครึกครื้นเข้ากับลีลาการเต้น  ทำนองได้รับอิทธิพลจากเพลงลูกทุ่งและเพลงไทยสากล
              หมอลำต้องเลือกทำนองการลำให้สอดคล้องกับเนื้อหาของเรื่องด้วย  เพื่อให้กลอนลำมีความกลมกลืนระหว่างทำนองลำและเนื้อหา  อันจะส่งผลให้กลอนลำมีความไพเราะ ก่อให้ผู้ฟังเกิดภาพพจน์และอารมณ์คล้อยตามหมอลำไปด้วย
              การลำของหมอลำแต่ละคน  อาจจะมีสำเนียงการลำ (วาดลำ)  ที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น สำเนียงการลำ (วาดลำ) ที่นิยมกันมากได้แก่  สำเนียงการลำจังหวัดอุบลราชธานี  (วาดลำอุบล) เป็นสำเนียงการลำที่ค่อนข้างช้า  เนิบนาบและสำเนียงการลำของจังหวัดขอนแก่น (วาดลำขอนแก่น) เป็นสำเนียงการลำที่ค่อนข้างกระชับ รวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีสำเนียงการลำของแต่ละจังหวัดที่มีความแตกต่างกันออกไปเป็นสำเนียงเฉพาะถิ่น  เช่น  สำเนียงลำของจังหวัดกาฬสินธุ์ (วาดลำกาฬสินธุ์)สำเนียงการลำอำเภอภูเขียวจังหวัดชัยภูมิ(วาดลำภูเขียว)สำเนียงการลำของอำเภอพุทไธสง  จังหวัดบุรีรัมย์ (วาดพุทไธสง) เป็นต้น สำเนียงการลำของหมอลำเหล่านี้ล้วนมีลีลาในการเล่นระดับเสียง ลูกคอ และจังหวะในการลำที่เป็นแบบเฉพาะท้องถิ่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น