วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สรภัญญ์กลอนก่องข้าวน้อย

สรภัญญ์ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่
(ขึ้น)บัดนี้จะได้กล่าวประวัติเรื่องราวก่องข้าวน้อยฆ่าแม่
(รับ)ในสมัยแต่โบราณ ยังมีเหตุการณ์เกิดขึ้นที่บ้านตาดทอง
บ้านนั้นมีอาชีพทำนา จะกล่าวถึงลูกกำพร้าที่ชื่อว่าเจ้าทอง
เดือนหกฝนตกน้ำนอง จะกล่าวถึงเจ้าทองพาควายไปไถนา
เจ้าทองทำนาถ้าแม่ วันนั้นสายแท้รอแม่ไม่เห็นมา
เจ้าทองหิวข้าวจนตาลาย หิวจนแสบไส้ทั้งจ่มทั้งไถนา
จะกล่าวถึงแม่ของเจ้าทอง หาบเอาก่องข้าวน้อยไปส่งลูกที่นา
พอมาถึงจึงเอิ่นใส่ลูก ให้เจ้าผูกควายไว้มากินข้าวสาหล้า
มีแจ่วบองพร้อมทั้งปิ้งปลา มากินสาลูกหล้าแม่เอามาส่งให้
เจ้าทองพอเห็นก่องข้าวน้อย ย้านข้าวมีหน่อยเลยฮ้องมาใส่
ก่องข้าวใหญ่เป็นยังบ่เอามา โอ๊ยอีห่ามึงแพงไว้ท่าผู้ใด๋
แม่เลยบอกกับลูกว่า ก่องข้าวน้อยก็จริงอยู่หล้าแต่ว่ามันแน่นใน
กินส่าก่อนจึงว่ามารดา ลูกจะรู้ว่ามันน้อยหรือมันใหญ่
เจ้าทองหิวข้าวเหลืออด เลยปลดแอกน้อยจะฆ่าแม่ทันที
แม่มองเห็นว่าลูกจะมาตี จึงวอนให้ลูกปราณี
อย่าตีแม่เด้อลูกเด้อ อย่าตีแม่เด้อลูกหล่า............
(ขึ้นเศร้า)โอ้..............โอ่...................โอ้.................
ทองจ้าทองลูกหล้าอย่าฆ่าแม่ ฟังกระแสแม่ก่อนนะลูกหนา
อย่าฆ่าแม่บาปกรรมจะตามมา เพราะมารดามีคุณเหลืออนันต์
ตั้งแต่เล็กจนโตแม่เลี้ยงเจ้า คุณของแม่ยายเฒ่ามีมากหลาย
เลี้ยงแต่น้อยจนโตใหญ่ให้เห็นใจ บ่เคยเอามือป่ายตีลูกตน
พอเลี้ยงใหญ่ขึ้นมาทรยศ เจ้าใจคดให้เลียวไม่สงน
ทองจ๋าทองบุตรตาโอ้ฤทน แม่ขอชีวิตเจ้าสักหนเถอะลูกยา
ทองจ๊าทองบุตรตาอย่าสิทำแม่กลัวแล้ว....
(รับ) เจ้าทองไม่ฟังคำแม่จักหน่อย จับได้แอกน้อยตีใส่หัวมารดา
ตีจนแม่มรณา ไม่มีความปราณีไม่มีความเมตตา
ฆ่าแม่ตายทองก็เปิดก่องข้าว พ่อเปิดออกแล้วก็เศร้าเพราะมองเห็นเลือดมารดา
ว่าจะกินข้าวก็กินไม่ลง กอดจูบแม่ตนแล้วก็หลั่งน้ำตา
แม่จ๋าลูกผิดไปแล้ว อภัยให้ลูกแก้วเทิดหนามารดา
ฆ่าแม่ตายเพราะความโกธา ยมบาลคงพาลูกลงอเวจี
เจ้าทองก็คิดกลัวบาป เลยสร้างพระธาตุบรรจุกระดูกมารดา
เลยใส่ชื่อธาตุก่องข้าวน้อย เพื่อเท้ารอยบาปกรรมที่เคยทำมา
นี้แหละหนาความหิวของคน หน้ามืดมัวมนฆ่าแม่ตนจนมรณา
เพราะความหิวจึงฆ่าตาย ของเตือนลูกหญิงชายอย่าเป็นดั่งว่ามา
ถ้าอยากเห็นเชิญแวะไปดู ธาตุก่องข้าวน้อยตั้งอยู่ที่บ้านตาดทอง

วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เดือนสิบสอง

 เดือนสิบสอง - บุญกฐิน

        บุญกฐิน เป็นบุญถวายผ้าไตรจีวรแด่พระสงฆ์ ซึ่งจำพรรษาแล้ว เริ่มตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง วันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นเขตทอดกฐินตามหลักพระวินัย

       มูลเหตุมีการทำบุญกฐินซึ่งมีเรื่องเล่าว่า พระภิกษุชาวเมืองปาฐา 30 รูป จะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร แต่จวนใกล้กำหนดเข้าพรรษาเสียก่อน จึงหยุดจำพรรษาที่เมืองสาเกต พอออกพรรษาแล้วก็รีบพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทั้ง ๆ ที่ผ้าสบงจีวรเปื้อนเปรอะ เนื่องจากระยะทางไกลและฝน ผ้าสบงจีวรจึงเปียกน้ำและเปื้อนโคลน จะหาผ้าผลัดเปลี่ยนก็ไม่มี พระพุทธเจ้าทรงเห็นความลำบากของพระภิกษุเช่นกัน จึงมีพุทธบัญญัติให้พระภิกษุแสวงหาผ้าและรับผ้ากฐินได้ตามกำหนด

       ในการทอดกฐินนั้น มีกฐิน 3 ประเภท
       ก. จุลกฐิน (กฐินแล่น) คือ กฐินที่มีการเตรียมและการทอดกฐินเสร็จภายใจ 24 ชั่วโมง
       ข. มหากฐิน
       ค. กฐินตกค้าง คำว่า "กฐินตกค้าง" คือวัดซึ่งพระสงฆ์จำพรรษาและปวารณาแล้ว ไม่มีใครจองกฐิน

       พิธีทำบุญทอดกฐิน เจ้าภาพจะมีการจองวัดและกำหนดวันทอดล่วงหน้า เตรียมผ้าไตร จีวร พร้อมอัฐบริขาร ตลอดบริวารอื่น ๆ และเครื่องไทยทาน ก่อนนำกฐินไปทอดมักมีการคบงัน วันรุ่งขึ้นก็เคลื่อนขบวนไปสู่วัดที่ทอด เมื่อนำองค์กฐินไปถึงวัดจะมีการแห่เวียนประทักษิณรอบวัดหรือรอบพระอุโบสถสามรอบ จึงนำผ้ากฐินและเครื่องประกอบอื่น ๆ ไปถวายพระสงฆ์ที่โบสถ์หรือศาลาการเปรียญ เมื่อทำพิธีถวายผ้ากฐินและบริวารแด่พระสงฆ์ พระสงฆ์ทำพิธีรับแล้วเป็นเสร็จพิธีสามัคคี

เดือนสิบเอ็ด

เดือนสิบเอ็ด - บุญออกพรรษา

       ประเพณีบุญออกวัสสา หรือ บุญออกพรรษา เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พระสงฆ์ทำพิธีออกพรรษาตามหลักธรรมวินัย คือ ปวารณาในวันเพ็ญเดือน 11 ญาติโยมทำบุญถวายทาน รักษาศีล เจริญภาวนา บางแห่งนิยมทำการไต้น้ำมัน หรือไต้ประทีป และพาสาทเผิ่ง (ปราสาทผึ้ง) ไปถวายพระสงฆ์

       มูลเหตุที่ทำให้เกิดบุญออกพรรษามีว่า เนื่องจากพระภิกษุสามเณรได้มารวมกันอยู่ประจำที่วัด โดยจะไปค้างคืนที่อื่นไม่ได้ นอกจากเหตุจำเป็นเป็นเวลา 3 เดือน ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พระสงฆ์จะมาร่วมกันทำพิธีออกวัสสาปวารณ์ คือการเปิดโอกาสให้มีการว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ทั้งภายหลังนั้นพระภิกษุสสามเณรส่วนมากจะแยกย้ายกันไปอยู่ในที่ต่าง ๆ ตามในชอบ และบางรูปอาจจะลาสิกขาบท โอกาสที่พระภิกษุสามเณรจะอยู่พร้อมกันที่วัดมาก ๆ เช่นนี้ย่อมยาก ชาวบ้านจึงถือโอกาสเป็นวันสำคัญไปทำบุญที่วัด และในช่วงออกพรรษาชาวบ้านหมดภาระในการทำไร่นา และอากาศสดชื่นเย็นดี จึงถือโอกาสทำบุญโดยพร้อมเพรียงกัน

        พิธีทำบุญออกพรรษา วันขึ้น 14 ค่ำ ตอนเย็นมีการไต้น้ำมันน้อย วันขึ้น 15 ค่ำ ตอนเย็นมีการไต้น้ำมันใหญ่ ส่วนวันแรม 1 ค่ำ ตอนเช้ามีการตักบาตร หรือตักบาตรเทโว ถวายภัตตาหาร มีการไต้น้ำมันล้างหางประทีป มีการถวายผ้าห่มหนาวพระภิกษุสามเณร บางแห่งมีการกวนข้าวทิพย์ถวาย มีการรับศีล ฟังเทศน์ ตอนค่ำจะมีจุดประทีป นอกจากนี้บางท้องถิ่นจะมีการถวายต้นพาสาดเผิ่ง หรือปราสาทผึ้ง ล่องเรือไฟ เพื่อเป็นการบูชาและคารวะพระแม่คงคา และการส่วงเรือ(แข่งเรือ) เพื่อความสนุกสนานและร่วมสามัคคี

เดือนสิบ

 เดือนสิบ - บุญข้าวสาก

        ประเพณีบุญข้าวสาก นิยมทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายหรือเปรตผู้เป็นญาติพี่น้อง ชาวบ้านจะทำข้าวสาก (ภาคกลางเรียกข้าวสารทหรือข้าวกระยาสารท) ไปถวายพระภิกษุสามเณร

       มูลเหตุที่ทำให้เกิดบุญข้าวสากมีว่า บุตรกุฏมณีผู้หนึ่งเมื่อพ่อสิ้นชีวิตแล้ว แม่ก็หาภรรยาให้ แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน แม่จึงหาหญิงอื่นให้เป็นภรรยาอีก ต่อมาเมียน้อยมีลูก เมียหลวงอิจฉาจึงคิดฆ่าเมียน้อยและลูก ก่อนตายเมียน้อยคิดอาฆาตเมียหลวง ชาติต่อมาทั้งสองเกิดเป็นสัตว์ชนิดต่าง ๆ และอาฆาตเข่นฆ่ากันเรื่อยมา จนชาติสุดท้าย ฝ่ายหนึ่งเกิดเป็นคน อีกฝ่ายหนึ่งเกิดเป็นยักษิณี ยักษิณีจองเวรได้มากินลูกของผู้เป็นคนถึงสองครั้ง พอเกิดลูกคนที่สามยักษิณีจะตามมากินอีก หญิงคนนั้นพร้อมลูกและสามี จึงหนีไปพึ่งพระพุทธเจ้า ณ เชตวันมหาวิหาร พระพุทธเจ้าได้เทศนาให้ทั้งสองเลิกจองเวรกัน และโปรดให้ทางยักษิณีไปอยู่ตามหัวไร่ปลายนา นางยักษิณีมีความรู้เกณฑ์เกี่ยวกับฝนและน้ำดี ชาวเมืองนับถือมาก จึงได้นำอาหารไปส่งอย่างบริบูรณ์ นางยักษิณีจึงนำอาหารเหล่านั้นไปถวายเป็นสลากภัตแด่พระสงฆ์วันละแปดที่เป็นประจำ ชาวอีสานจึงถือเป็นประเพณีถวายสลากภัต หรือบุญข้าวสากสืบต่อมาและมีการเปลี่ยนเรียกนางยักษิณีว่า ตาแฮก

       พิธีทำบุญข้าวสาก ชาวบ้านจะเตรียมอาหารชนิดต่าง ๆ ใส่ภาชนะหรือห่อด้วยใบตองหรือใส่ชะลอมไว้แต่เช้ามืด วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ตอนเช้าจะนำภัตตาหารไปถวายพระภิกษุสามเณรครั้งหนึ่งก่อน พอตอนสายจวนเพลจึงนำอาหารซึ่งเตรียมไว้แล้วไปวัดอีกครั้ง เพื่อนำไปถวายแด่พระภิกษุสามเณร โดยการถวายจะใช้วิธีจับสลาก นอกจากนี้ชาวบ้านยังนำเอาห่อหรือชะลอมหรือข้าวสากไปวางไว้ตามบริเวณวัด พร้อมจุดเทียนและบอกกล่าวให้ญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้วมารับเอาอาหารและผลบุญที่อุทิศให้ มีการฟังเทศน์ฉลองข้าวสากและกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ล่วงลับ นอกจากนี้ชาวบ้านจะนำอาหารไปเลี้ยง ตาแฮก ณ ที่นาของตนด้วย เป็นเสร็จพิธีทำบุญข้าวสาก

เดือนเก้า

เดือนเก้า - บุญข้าวประดับดิน

       บุญข้าวประดับดิน เป็นประเพณีการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่เปรต หรือญาติพี่น้องที่ตายไปแล้ว ข้าวประดับดินจะประกอบด้วย ข้าว อาหารคาวหวาน หมากพลูและบุหรี่ ซึ่งเราห่อหรือใส่กระทงไปวางไว้ตามพื้น หรือแขวนไว้ตามต้นไม้ในบริเวณวัด

       มูลเหตุที่ทำให้เกิดบุญข้าวประดับดินมีว่า ครั้งสมัยพุทธกาล มีญาติของพระเจ้าพิมพิสารไปกินอาหารของพระสงฆ์ ตายไปแล้วจึงเกิดเป็นเปรต เมื่อพระเจ้าพิมพิสารไปถวายทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์แล้ว มิได้อุทิศส่วนกุศลไปให้ ถึงเวลากลางคืนจึงพากันมาส่งเสียงรบกวนเพื่อขอส่วนบุญ พระเจ้าพิมพิสารจึงไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงแจ้งเหตุให้ทราบ เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงีราบ จึงถวายสสังฆทานแล้วอุทิศส่วนบุญส่วนกกุศลไปให้ญาติพี่น้อง จึงทำให้เกิดเป็นประเพณีบุญข้าวประดับดินขึ้น

       พิธีทำบุญข้าวประดับดิน ในวันแรม 13 ค่ำ เดือน 9 ญาติโยมนิยมถวายทาน รักษาศีล ฟังเทศน์ และมีการเตรียมอาหารคาวหวาน หมากพลู บุหรี่ โดยห่อด้วยใบตองหรือใส่กระทง รุ่งเช้าในวันแรม 14 ค่ำ เวลาประมาณ 4 ถึง 5 นาฬิกา นำห่อหรือกระทงที่เตรียมไว้ไปถวายหรือแขวนในบริเวณวัด ในการวางสิ่งของเพื่ออุทิศให้เปรตหรือญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้วดังกล่าว บางท้องถิ่นอาจทำก่อนถวายทานก็มี เป็นเสร็จพิธีทำบุญข้าวประดับดิน

เดือนแปด

เดือนแปด - บุญเข้าพรรษา

       ถือเอาวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนแปด เป็นวันทำบุญ การเข้าพรรษาได้แก่ พระภิกษุสามเณร อยู่ประจำวัดใดวัดหนึ่งตลอด 3 เดือน ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือนแปด ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด ห้ามมิให้พระภิกษุสามเณรไปค้างคืนที่อื่น นอกจากไปด้วยสัตตาหกรณียะ คือการไปค้างคืนนอกวัดในระหว่างอยู่จำพรรษา เมื่อมีเหตุจำเป็น ได้แก่
       1. สหธรรมิก (ผู้มีธรรมอันร่วมกัน) หรือมารดาบิดาป่วย ไปเพื่อรักษาพยาบาล
       2. สหธรรมิกกรวะสันจะสึก ไปเพื่อระงับ
       3. มีกิจสงฆ์เกิดขึ้น เช่น วิหารชำรุด ไปเพื่อปฏิสังขรณ์
       4. ทายกบำเพ็ญกุศล ส่งมานิมนต์ไปเพื่อบำรุงศรัทธา
แม้ธุระอื่นนอกจากนี้ ที่เป็นกิจจะลักษณะอนุโลมตามนี้ก็ไปค้างคืนที่อื่นได้ และต้องกลับมาภายใน 7 วัน

       มูลเหตุมีการเข้าพรรษาเนื่องจากสมัยพุทธกาาล เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จประทับอย่เวฬุวันกลันทกะนิวาปะสถาน ณ เมืองราชคฤห์ มีพระภิกษุพวกหนึ่งเรียกว่า "ฉับพัคคีย์" ได้เที่ยวไปทุกฤดูกาล ไม่สหยุดพักเลย โดยเฉพาะฤดูฝนอาจไปเหยียบย่ำข้าวกล้า และหญ้าระบัดใบ ตลอดสัตว์เล็กเป็นอันตราย ประชาชนทั่วไปพากันติเตียน พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุสามเณรจำพรรษาตามกำหนดเวลาดังกล่าว

        พิธีทำบุญเข้าพรรษา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนแปด ชาวบ้านมีการถวายภัตตาหารเข้าหรือเพล พร้อมเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็นแด่พระสงฆ์ เช่น ไตรจีวร ตั่งเตียง ยารักษาโรค เป็นต้น โดยเฉพาะเครื่องให้แสงสว่าง เช่น เทียน ตะเกียง น้ำมัน เป็นต้น ถือเป็นสิ่งสำคัญ เชื่อว่าถวายแล้วทำให้ตาทิพย์และสติปัญญาดี จอกจากนี้ มีการถวายต้นเทียน ซึ่งหล่อเป็นเล่ม หรือแท่งขนาดใหญ่ ตกแต่งอย่างสวยงาม และผ้าอาบน้ำฝน ตลอดบริวารอื่น ๆ แด่พระสงฆ์ มีการสวดมนต์ และฟังเทศน์ด้วย

เดือนเจ็ด

เดือนเจ็ด - บุญซำฮะ

       บุญซำฮะนิยมทำกันในเดือนเจ็ด จัดทำขึ้นเพื่อชำระล้างสิ่งที่เป็นเสนียดจัญไรต่าง ๆ ออกจากหมู่บ้าน ตำบล เชื่อว่าจะทำให้ประชาชนหายจากเหตุเภทภัยต่าง ๆ และอยู่เย็นเป็นสุข

       มูลเหตุที่จะมีการทำบุญซำฮะ มีเรื่องเล่าว่า ครั้งพุทธกาลที่เมืองไพสาลีเกิดทุพภิกขภัย เพราะฝนแล้ง ผู้คนอดอยากล้มตายมากมาย ชาวเมืองจึงอาราธนาพระพุทธเจ้าให้เสด็จไประงับเหตุเภทภัย พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรด โดยให้พระอานนท์เรียนคาถาแล้วไปสวดมนต์ในเมือง พร้อมนำบาตรน้ำมนต์ของพระองค์ไปประพรมจนทั่วเมืองทำให้ฝนตก ผู้คนอยู่เย็นเป็นสุข จึงทำให้เกิดประเพณีทำบุญซำฮะตั้งแต่นั้นมา

        พิธีทำบุญซำฮะ ชาวบ้านจัดทำปะรำขึ้นในบริเวณหมู่บ้านแห่งใดแห่งหนึ่ง มีต้นกล้วยผูกเสาปะรำสี่มุม จัดอาสนะสงฆ์ เตรียมเครื่องบูชาพระรัตนตรัย ด้ายสายสิญจน์ น้ำพระพุทธมนต์ ฝ้ายผูกแขน เครื่องไทยทาน กรวดทราย หลัดไม้ไผ่แปดหลัก ตอนเย็นนิมนต์พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ตอนเช้าถวายภัตตาหาร ทำพิธีอยู่สามคืน เข้าวันสุดท้ายถวายสังฆทาน เสร็จพระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ แล้วคนเฒ่าคนแก่ผูกแขนให้ชาวบ้าน หว่านกรวดทรายทั่วละแวกบ้าน เอาหลักแปดหลักไปตอกไว้ในทิศทั้งแปดของหมู่บ้าน วงด้ายสายสิญจน์รอบหมู่บ้าน และชาวบ้านนำสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ เช่น ขยะมูลฝอย ภาชนะชำรุด และสิ่งที่จะทำให้เกิดสกปรก ฯลฯ ไปทิ้งนอกหมู่บ้าน หรือทำการเผาหรือฝัง ให้บริเวณบ้านสะอาดเรียบร้อย เป็นเสร็จพิธี

เดือนหก

เดือนหก - บุญบั้งไฟ

       นิยมทำกันในเดือนหก มูลเหตุจัดทำบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อบูชาอารักษ์หลักเมือง เป็นประเพณีขอฝนเพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เมื่อทำบุญบั้งไฟแล้วเชื่อว่าฟ้าฝนจะอุดมสมบูรณ์ ข้าวปลาอาหารจะบริบูรณ์ และประชาชนในละแวกนั้นจะอยู่เย็นเป็นสุข เพราะมีข้าวปลาอาหารบริบูรณ์และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ

       พิธีทำบุญบั้งไฟ หมู่บ้านและวัดเจ้าภาพจะเตรียมทำบั้งไฟ เตรียมที่พักและสุรา อาหารไว้ต้อนรับผู้มาร่วมงาน มีการบอกบุญไปยังวัดและหมู่บ้านใกล้เคียง ให้ทำบั้งไฟและเชิญคนมาร่วมงาน บางแห่งมีการประกวดบั้งไฟและขบวนแห่ด้วย ในงานวันแรก ชาวบ้านในหมู่บ้านที่ได้รับเชิญ และพระภิกษุสามเณรที่ได้นิมนต์มาร่วมงานพร้อมบั้งไฟ วันแรกจะมีการแห่บั้งไฟ ประกวดบั้งไฟและขบวนแห่(ถ้ามี) และแสดงการเล่นต่าง ๆ เช่น การเซิ้ง และการละเล่นต่าง ๆ เป็นต้น วันรุ่งขึ้นมีการละเล่นต่ออีก ในงานมักมีพิธีบวชนาค และบางที่มีพิธีฮดสรง หรือเถราภิเษก แด่พระภิกษุสามเณร ผู้เห็นว่าเป็นผู้ทรงธรรม เพื่อเลื่อนสมณศักดิ์ตามประเพณีโบราณด้วย ตอนบ่ายของวันที่สองของงานจึงนำบั้งไฟไปจุด ณ ที่นั่งร้านที่จัดไว้เป็นเสร็จพิธี

เดือนห้า

เดือนห้า - บุญสงกรานต์

       คำว่า "สงกรานต์" เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า ผ่านหรือเคลื่อนย้ายเข้าไป ซึ่งในที่นี้หมายถึงพระอาทิตย์ผ่านหรือเคลื่อนย้ายเข้าไปในจักรราศีหนึ่ง ก็เรียกว่า "สงกรานต์" ปีหนึ่งมี 12 ราศี แต่วันและเวลาที่พระอาทิตย์ยกขึ้นราศีเมษ เราเรียกเป็นพิเศษว่า "มหาสงกรานต์" เพราะถือว่าเป็นวันและเวลาขึ้นปีใหม่ตามคติโบราณ

       มูลเหตุที่จะมีบุญสงกรานต์มีเรื่องเล่าว่า กบิลพรหมจากพรหมโลกมาถามปัญหาธรรมบาล 3 ข้อ คือ คนเราในวันหนึ่ง ๆ เวลาเช้า เวลาเที่ยง และเวลาเย็นศรีอยู่ที่ไหน ถ้าธรรมบาลตอบได้จะตัดศีรษะตนบูชา แต่ถ้าธรรมบาลตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลเสีย โดยผลัดให้เจ็ดวัน ในขั้นเเรกธรรมบาลตอบไม่ได้ ในวันถ้วนหกธรรมบาลเดินเข้าไปในป่า เผอิญแอบได้ยินนกอินทรีย์สองผัวเมียพูดคำตอบสู่กันฟังว่า ตอนเข้าศรีอยู่ที่หน้า คนจึงเอาน้ำล้างหน้า ตอนกลางวันหรือเที่ยงศรีอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมหน้าอก ตอนกลางวันและตอนเย็นศรีอยู่ที่เท้า คนจึงเอาน้ำล้างเท้าในตอนเย็น ธรรมบาลมีความรู้ภาษานกจึงจำคำตอบได้ ถึงเจ็ดวันถ้วน กบิลพรหมมาทวงปัญหา ธรรมบาลตอบได้ตามที่ได้ยินนกพูดกัน กบิลพรหมจึงตัดศีรษะตนบูชาตามสัญญา แต่ศีรษะกบิลพรหมศักดิ์สิทธิ์ หากตกใส่ดินไฟจะไหม้ ตกใส่อากาศฝนจะแล้ง และถ้าทิ้งใส่ในมหาสมุทรน้ำจะแห้ง กบิลพรหมจึงให้ธิดาทั้งเจ็ด ซึ่งมีชื่อว่า ทุงษ โคราด รากษส มัณฑา กิริณี กิมิทา และมโหทร เอาพานมารองรับศีรษะของตนไว้ แล้วแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุเป็นเวลา 60 นาที จึงนำศีรษะกบิลพรหมไปประดิษฐานไว้ที่มณฑปในถ้ำคันธุลี เขาไกรลาส ครบหนึ่งปีธิดาทั้งเจ็ดจะผลัดเปลี่ยนกันมาอัญเชิญศีรษะของกบิลพรหม แห่รอบเขาพระสุเมรุครั้งหนึ่ง พิธีแห่เศียรกบิลพรหมนี้ทำให้เกิดพิธีตรุษสงกรานต์ขึ้น

       พิธีทำบุญสงกรานต์ นิยมทำในเดือนห้า โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน ถึงวันที่ 15 เมษายน โดยวันที่ 13 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ ที่ 14 เมษายน เป็นวันเนา และวันที่ 15 เมษายน คือวันสุดท้ายเป็นเถลิงศก ชาวอีสานโบราณถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ วันแรกมีพิธีสรงน้ำพระพุทธรูปที่วัด ตอนกลางคืนอาจมีการคบงันที่วัด มีการละเล่นต่าง ๆ และมีการสาดน้ำซึ่งกันและกันตลอด 3 วัน คือวันที่ 13-14-15 เมษายน ในวันที่ 15 เมษายนบางแห่งตอนเช้าทำบุญตักบาตร ตอนบ่ายมีการแขวนธงยาวและก่อเจดีย์ทรายที่วัด นอกนี้มีการสรงน้ำพระสงฆ์และผู้หลักผู้ใหญ่ หรือผู้เฒ่าผู้แก่ มีพิธีบายศรีสู่ขวัญพระพุทธรูปและพระสงฆ์ การแห่ข้าวพันก้อน และการแห่ดอกไม้ด้วย

เดือนสี่

เดือนสี่ - บุญพระเวส

       พระเวสฯนั้นหมายถึง พระเวสสันดร บุญพระเวส ได้แก่ประเพณีทำบุญฟังเทศน์มหาชาติ ซึ่งมักทำกันในเดือน 4 หรือเดือนมีนาคม มีมูลเหตุว่า เมื่อพระมาลัยขึ้นไปไหว้พระธาตุเกศาแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้พบและสนทนากับพระศรีอริยเมตไตรย์ผู้ซึ่งจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เมื่อพระศรีอริยเมตไตรย์ ทราบความประสงค์ของมนุษย์จากพระมาลัยว่ามนุษย์ทั้งหลาย ปรารถนาจะพบศาสนาของท่าน ก็สั่งกับพระมาลัยให้ลงมาบอกกับมนุษย์ทั้งหลายว่า ถ้าหากปรารถนาเช่นนั้นจริง ๆ แล้ว ขอจงอย่าฆ่าตีกัน โบยพ่อแม่สมณชีพราหมณาจารย์ อย่าทำร้ายพระพุทธเจ้าและยุยงให้พระสงฆ์แตกแยกกัน ให้ตั้งใจฟังมหาเวสให้จบได้ในวันเดียว เพราะเหตุนี้จึงทำให้เกิดประเพณีบุญพระเวสฯ

       พิธีทำบุญพระเวส เมื่อกำหนดวันทำบุญแล้ว ชาวบ้านจะเตรียมอาหารและที่พักสำหรับพระภิกษุสามเณร และผู้มาร่วมงานจากหมู่บ้านใกล้เคียงไว้ให้พร้อมและเตรียมเครื่องบูชาไว้ล่วงหน้า ได้แก่ หมาก เมี่ยง เทียน ธูป ปืน ดาบ ข้าวตอกดอกไม้ นอกจากนี้มีเครื่องประดับและบูชาอื่น ๆ อีก วันแรกซึงเป็นวันรวมหรือวันโฮม ตอนเข้ามีการนิมนต์พระอุปคุตมาประดิษฐานที่หอข้างศาลาโรงธรรมตั้งแต่เช้ามืด ตอนบ่ายมีพิธีอัญเชิญและแห่พระเวสสันดร และพระนางมัทรีเข้าเมือง กลางคืนตอนหัวค่ำ มีอาราธนาพระสวดพระพุทธมนต์ เทศน์พระมาลัยหมื่นมาลัยแสน พอจวนสว่างมีการประกาศป่าวเทวดา และอาราธนาพระเทศน์สังกาสและอาราธนาเทศน์มหาชาติต่อ โดยขึ้นจากกัณฑ์ทศพรจนถึงกัณฑ์นคร มีทั้งหมด 13 กัณฑ์ เมื่อจบมีเทศน์ฉลองพระเวสสันดรอีกครั้ง

เดือนสาม

สาม - บุญข้าวจี่

       ข้าวจี่ คือ ข้าวเหนียวนึ่งให้สุกแล้วทำเป็นก้อนโตประมาณเท่าไข่เป็ด ขนาดใหญ่เสียบไม้ย่างไฟให้เกรียม ทาไข่ไก่หรือไข่เป็ดแล้วย่างให้สุกดีอีกครั้ง

       การทำบุญข้าวจี่เป็นอาหารถวายทานมีผู้นิยมทำกันมาก เชื่อว่าได้กุศลมากเป็นกาละทานอย่างหนึ่ง ทำกันในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (มาฆบูชา) โดยมีมูลเหตุที่ทำให้เกิดบุญข้าวจี่นั้นว่า ครั้งพุทธกาลนางปุณณทาสีทำขนมแป้งจี่ถวายแด่พระพุทธเจ้าและพระอานนท์ ตอนแรกนางคิดว่าถวายแล้วพระพุทธองค์คงจะไม่ฉัน เพราะเป็นอาหารพื้น ๆ พระพุทธองค์พรงทราบวาราจิตของนางปุณณทาสี ก็ทรงสั่งให้พระอานนท์ปูอาสนาและทรงประทับนั่งละเสวยข้าวจี่ตรงนั้นทันที เป็นเหตุให้นางปุณณทาสีเกิดความปิติยินดีอย่างที่สุด เมื่อเสวยเสร็จพระองค์ได้ทรงแสดงธรรมให้นางปุณณทาสีฟัง หลังจากฟังแล้วนางก็ได้บรรลุโสดาบันติผล เพราะเหตุนี้บรรดาชาวนาจึงถือเป็นนิมิตหมายในการทำบุญข้าวจี่หลังฤดูเก็บเกี่ยวเพื่ออานิสงส์ทำนองนั้น

       พิธีทำบุญข้าวจี่ เมื่อเตรียมอุปกรณ์การทำข้าวจี่พร้อมแล้ว ชาวบ้านอาจไปรวมกันหรือต่างคนจัดทำจากบ้าน แล้วนำไปถวายพระภิกษุที่วัด มีการไหว้พระรับศีล พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ตักบาตรด้ายข้าวจี่ พอพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้วก็อนุโมทนา หลังจากนั้นเป็นอันเสร็จพิธี

เดือนยี่

เดือนยี่ หรือ เดือน 2 - บุญคูณลาน

       ลาน ในที่นี้คือ ลานนวดข้าว คือ เอาข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้วมากองให้สูงขึ้น กริยาที่ทำให้ข้าวเป็นกองสูงขึ้น เรียกว่า คูณ หลังเก็บเกี่ยวข้าวในนาแล้วก็อยู่ในเดือนยี่หรือเดือนมกราคม ชาวนาก็จะทำบุญคูณลานหรือเรียกบุญเดือนยี่ก็ได้

       มูลเหตุที่มีการทำบุญคูณลานนั้นมีว่า ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า มีชายพี่น้องสองคนทำนาร่วมกัน พอข้าวออกรวงเป็นน้ำนม น้องชายอยากทำข้ามธุปกยาสถวายพระสงฆ์ซึ่งมีพระกัสสปพุทธเจ้าเป็นประธาน และได้ชวนพี่ชาย แต่พี่ชายไม่ทำ จึงตกลงแบ่งนากัน เมื่อน้องชายได้กรรมสิทธิ์ในที่นาแล้วก็ทำทานถึง 3 ครั้ง คือ ตอนที่ข้าวเป็นน้ำนม 1 ครั้ง ฟาดข้าว 1 ครั้ง และขนข้าวขึ้นยุ้งอีก 1 ครั้ง ในการถวายทานทุกครั้งปรารถนาจะเป็นพระอรหันต์ ครั้นถึงสมัยพระโคดมก็ได้เกิดเป็นพราหมณ์ชื่อ โกญทัญญะ ได้ออกบวชเป็นปฐมสาวก แล้วก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์
       ส่วนพี่ชายถวายข้าวในในเพียงครั้งเดียวคือในเวลานวดข้าวเสร็จแล้ว และได้ตั้งปณิธานขอสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล และต่อมาได้เกิดเป็นสุภัททปริพาชก ได้บวชในศาสนาของพระโคดม แต่ไม่มีโอกาสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าโคดม คงเพียงได้กราบบังคมทูลถามข้อสงสัยในขณะที่พระพุทธเจ้าใกล้ปรินิพพาน เมื่อได้ฟังดำรัสแล้วก็สำเร็จเป็นพระอนาคา และเป็นอริยสงฆ์องค์สุดท้ายในสมัยพุทธกาล

       พิธีทำบุญคูณลาน ในตอนเย็นนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ กลางคืนอาจมีการคบงันบ้าง ตอนเข้าถวายภัตตาหารบิณฑบาตร เทศนาฉลองสู่ขวัญลาน เลี้ยงอาหารแก่ผู้ไปร่วมพิธี พระสงฆ์อนุโมทนาประพรมน้ำมนต์ เอาน้ำมนต์ไประข้าว วัว ควาย เชื่อว่าเข้าของจะอยู่เย็นเป็นสุข ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าจะงอกงามและได้ผลดีในปีต่อไป เมื่อเสร็จพิธีจึงขนข้าวใส่ยุ้งและเชิญขวัญข้าว คือ เชิญเจ้าแม่โพสพไปยังยุ้งข้าว
       การทำบุญคูณลานนี้ทำขึ้นเฉพาะนาใครนามัน ทำส่วนตัว แต่ถ้าทำส่วนรวมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญคุ้ม หรือ บุญกุ้มข้าวใหญ่ คนทั้งหมู่บ้านมาทำบุญร่วมกัน โดยมีการปลูกปะรำขึ้น มีการนำดอกไม้ธูปเทียนมารวมกัน มารับศีลฟังธรรมถวายอาหารพระสงฆ์ อันนี้เรียกว่า บุญคุ้ม แต่ถ้าเป็นบุญคุ้มข้าวใหญ่ก็มีการนำข้าวเปลือกมารวมกัน ทำพิธีเหมือนกัน แต่ต่างกันที่สถานที่ ซึ่งต้องใช้ศาลาโรงธรรมหรือศาลากลางบ้าน

เดือนอ้าย

เดือนอ้าย หรือ เดือน 1 - บุญเข้ากรรม

       บุญเข้ากรรม ได้แก่ประเพณีทำบุญเข้ากรรม เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนอ้ายหรือเดือนธันวาคมนั่นเอง โดยมีมูลเหตุ เนื่องจากมีพระภิกษุรูปหนึ่งล่องเรือไปตามแม่น้ำคงคา ได้เอามือไปจับตะไคร้น้ำขาดเป็นอาบัติ ครั้นถึงเวลาใกล้จะตายมองหาภิกษุสักรูปหนึ่งเพื่อจะแสดงอาบัติก็ไม่เห็น ครั้นมรณภาพไปแล้ว จึงเกิดเป็นพญานาคชื่อ เอรถปัต เพราะเหตุนั้นจึงทำให้เกิดมีการเข้ากรรมขึ้นทุกปี เพื่อให้โอกาสแก่ภิกษุอาบัติที่ไม่มีโอกาสแสดงอาบัติได้แสดงและได้อยู่กรรมจนพ้นอาบัติในเดือนนี้

       พิธีทำบุญเข้ากรรม จัดทำโดยพระภิกษุ ผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส คือ อาบัติขนาดกลาง ต้องปฏิบัติวุฏฐานวิธี คือ ระเบียบเป็นเครื่องออกอาบัติ โดยให้พระสงฆ์เข้าไปอยู่ในเขตที่จำกัด ทรมานกายและชำระจิตใจให้บริสุทธิ ถือเป็นการแทนคุณมารดาที่ต้องอยู่กรรม(อยู่ไฟ) ด้วยการเข้ากรรมทำอยู่เก้าราตรี คือ สามราตรีแรกเรียกว่า อยู่บริวาส และหกราตรีต่อมาเรียกว่า อยู่มานัต เมื่อครบเก้าราตรีจึงอัพภาน คือ ออกจากกรรม โดยมีพระสงฆ์ 20 รูป เป็นผู้สวดอัพภาน
       การสวดระงับอาบัติ ภิกษุที่ออกจากกรรมแล้ว ถือว่าเป็นผู้หมดมลทินบริสุทธิ์ผุดผ่อง ชาวบ้านที่ทำบุญถวายทานแด่พระสงฆ์ระหว่างเข้ากรรมถือได้ว่ากุศลแรง

วัดสระแก้ว







วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ไวพจน์(ผู้หญิง)

ไวพจน์ผู้หญิง

                      นาเอ๋ยนารี                               ภคินี,กันยา,สุดา,สมร

            นุชนาถ,วนิดา,พะงางอน,                  สายสวาท,บังอร,พธู,นวล
            ยุพดี,กานดา,ยอดยาจิต,                    โฉม-มิ่งมิตร,นงนุช,สุดสงวน
            สิบเก้าแล้วยังไม่หมดบทกระบวน     เออสำนวนนามผู้หญิงมากจริงเอย
                                                                                    ของ ชิต  บุรทัต

สีผ้านุ่ง

สีผ้านุ่ง

              อนึ่งภูษาผ้าทรงณรงค์รบ               ให้มีครบเครื่องเสร็จทั้งเจ็ดสี
วันอาทิตย์สิทธิโชคโฉลกดี               เอาเครื่องสีแดงทรงเป็นมงคล
เครื่องวันจันทร์นั้นควรสีนวลขาว    จะยืนยาวชันษาสถาผล
อังคารม่วงช่วงงามสีครามปน          เป็นมงคลขัตติยาเข้าราวี
เครื่องวันพุธสุดดีด้วยสีแสด             กับเหลือบแปดปนประดับสลับสี
           วันพฤหัสจัดเครื่องเขียวเหลืองดี      วันศุกร์สีเมฆหมอกออกสงคราม
วันเสาร์ทรงดำจึงล้ำเลิศ                   แสนประเสริฐเสี้ยนศึกจะนึกขาม
หนึ่งพาชีขี่ขับประดับงาม               ให้ต้องตามสีสันจึงกันภัย
                                                                      จาก สวัสดิรักษา
            ของ สุนทรภู่

ไปสารคาม






วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คำสมาสมีสนธิ

คำสมาสมีสนธิ
คำสมาสมีสนธิ    คือการสร้างคำใหม่    โดยการนำคำในภาษาบาลี   และภาษาสันสกฤต   ตั้งแต่  ๒ คำขึ้นไปมารวมกันแล้ว   ทำให้เกิดคำใหม่    มีความหมายใหม่   มีความหมายคงเดิม   มีความหมายเพี้ยนไป หรือมีความหมายอยู่คำหน้าคำเดียว   ลักษณะเดียวกับคำสมาส     แต่คำสมาสมีสนธิจะมีการกลมกลืนเสียงหรือมีการเชื่อมเสียง   โดยมีการเปลี่ยนแปลงสระและพยัญชนะในพยางค์สุดท้ายของคำแรก   และในพยางค์แรกของคำหลัง
มีหลักสังเกตดังนี้

สระสนธิ

. อะ , อา + อะ , อา     มีตัวสะกด   =   อะ  , อา เช่น
            วน+อันดร         วนันดร              พุทธ+อันดร                   พุทธันดร
            กต+อัญชลี         กตัญชลี             อัฎฐ+อังคิกมรรค            อัฏฐังคิกมรรค
            ทาน+อัธยาศัย     ทานนัธยาศัย      มหา+อัศจรรย์                 มหัศจรรย์
            ทีฆ+อัมพร         ทีฆัมพร             มหา+อรรณพ                 มหรรณพ
            สุร+อังค์            สุรางค์               เสน+อังค์                      เสนางค์
            อุตม+อังค์          อุตมางค์             สต+อังค์                        สตางค์
            มหา+อาตม        มหาตม               นิร+อันดร                     นิรันดร
. อะ , อา + อะ , อา  ไม่มีตัวสะกด  =       อา  เช่น
            เกษตร+อธิการ    เกษตราธิการ      นร+อธิบดี                     นราธิบดี
            วร+อาภรณ์        วราภรณ์            ศาสตร+อาจารย์              ศาสตราจารย์
            วันทนา+อาการ   วันทนาการ        ศึกษา+อธิการ                 ศึกษาธิการ
            ประชา+อภิบาล  ประชาภิบาล       ประชา+อากร                 ประชากร
            คงคา+อาลัย       คงคาลัย              ชล+อาศัย                      ชลาศัย
. อะ , อา + อิ ,อี  =  อิ ,  เอ    เช่น
            เทว+อินทร์        เทวินทร์             นร+อินทร์                     นรินทร์
            นร+อิศวร          นเรศวร             ราช+อินทร์                    ราชชินทร์
            มหา+อินทร์       มหินทร์              มหา+อิสี                       มเหสี
            มหา+อิทธิ         มหิทธิ                ธารา+อินทร์                   ธารินทร์
. อะ , อา + อี =  อี
            อุตร + อีสาน      อุตรีสาน             สัพพ+อีติ                       สัพพีติ
. อะ ,อา + อุ  =  อุ , อู , โอ , เอา     เช่น
            ภัณฑ+อุปกรณ์   ภัณฑุปกรณ์         พุทธ+อุบาท                   พุทโธบาท
            มัคค+อุเทศก์      มัคคุเทศก์            ราช+อุปโภค                  ราชูปโภค
            นย+อุบาย          นโยบาย              สาธารณ+อุปโภค            สาธารณูปโภค
            สุข+อุทัย            สุโขทัย              มหา+อุฬาร                    มโหฬาร
. อะ , อา + อู  =  อู  เช่น
            เอก+อูน                        เอกูน
. อะ, อา+เอ  = เอ   เช่น
            อน + เอก          เอนก                        ปัจจ+ เอกชน                 ปัจเจกชน
            อภิษิต+ เอกราช  อภิษิเตกราช
.  อะ อา + ไอ  =  ไอ   เช่น
            โภค+ ไอศวรรย์        โภไคศวรรย์      หา+ไอศูรย์                  มไหศูรย์
            มหา+ ไอศวรรย์         มไหศวรรย์       มหา+ไอยรา                   มไหยรา
. อะ , อา + โอ   = โอ     เช่น
            พุทธ+โอวาท         พุทโธวาท            วร+โอกาส                     วโรกาส
            สุทธ+โอทนะ        สุทโธทนะ           มหา+โอสถ                    มโหสถ
๑๐. อะ , อา + เอา      เช่น
            ปิย + เอารส                   ปิเยารส
๑๑. อิ , อี + อิ , อี  =   อิ , อี , เอ     เช่น
            มุนิ + อินทร์         มุนินทร์            อริ+อินทร์                      อินทร์
            กรี+อินทร์           กรินทร์             เทพี+อินทร์                    เทพินทร์
            นารี+อินทร์        นารินทร์            ไพรี+อินทร์                   ไพรินทร์
            นารี+อิศวร         นารีศวร             อัมพร+อินทร์                 อัมพรินทร์
๑๒. อิ , อี + สระอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ อิ , อี  มีวิธีการทำ ๒  วิธี  คือ
ก.      ลบ อิ , อี  แล้วต่อกับสระหลัง  เช่น
ราชินี + อุปถัมภ์     ราชีนูปถัมภ์         ราชินี+โอวาท          ราชิโนวาท
หัตถี+อาจารย์         หัตถาจารย์           หัสดี+อาภรร์          หัสดาภรณ์
ศักดิ+อานุภาพ        ศักดานุภาพ         ฤทธิ+อานุภาพ        ฤทธานุภาพ
สิทธิ+อานุภาพ       สิทธานุภาพ         อิทธิ+อานุภาพ        อิทธานุภาพ
หัสดี+อลังการ        หัสดลังการ          มหิทธิ+อานุภาพ      มหิธานุภาพ
            . แปลงอิ, อี      เป็นตัว ย  แล้วต่อกับสระหลัง  ตามวิธีที่ ๑  เช่น
            ขันติ+อาคม        ขันตยาคม                มติ+อธิบาย          มตยาธิบาย , มัตยาธิบาย
            อธิ+อาตม          อธยาตม ,อัธยาตม       อธิ+อาศัย           อธยาศัย , อัธยาศัย
            นันทิ+อารมณ์    นันทยารมณ์              สันติ+อารักษ์       สันตยารักษ์
            อติ+อันต์           อตยันต์ , อัตยันต์        ปรติ+อุบัน         ปรัตยุบัน
หมายเหตุ  เมื่อแปลง อิ , อี เป็น  ย แล้ว  ถ้าพยัญชนะหน้า    ซ้ำกันให้ตัดออก ๑  ตัว
            อัคคี+อาคาร         อัคยาคาร           สามัคคี+อาจารย์             สามัคยาจารย์
            อัคคี+โอภาส        อัคโยภาส         รัตติ+อานันท์                 รัตยานันท์
            วัลลี+อาภรณ์       วัลยาภรณ์
            เมื่อแปลง อิ , อี เป็น ย  แล้ว  พยัญชนะหน้า ย  เป็น   ,     สามารถเปลี่ยน ตย , ฏย  ให้เป็น  จจ ได้
            ปฏิ+อมิตร         ปฎยมิตร            ปัจจามิตร
            ปฏิ+อุบัน           ปฎยุบัน             ปัจจุบัน
            ปฏิ+เอก            ปฎเยก               ปัจเจก
๑๓. อุ , อู + อุ , อู  =  อุ , อู   เช่น
            เหตุ+อุทัย          เหตุทัย             คุรุ+อุปกรณ์      คุรุปกรณ์
            สินธุ+อุปจาร     สินธูปจาร        วิญญู+อุปเทศ     วิญญูปเทศ
        อุ , อู + สระอื่น ท่ไม่ใช่  อุ , อู  ต้องแปลง อุ , อู เป็น    แล้วตามด้วยสระของตัวหลัง
            พหุ+อาหาร       พหวาหาร                      คุรุ+อุปกรณ์        คุรโวปกรณ์
            ธนู+อาคม         ธนวาคม , ธันวาคม         ธาตุ+อากร           ธาตวากร
            จตุ+อังค์           จตุวางค์ , จัตวางค์            เหตุ+อเนกรรถ     เหตวาเนกรรถ   

พยัญชนะสนธิ

            คือการเชื่อมคำด้วยพยัญชนะ  คำมูลตัวหน้ามีท้ายคำเป็นพยัญชนะ  และคำมูลตัวหลังมีหน้าคำเป็นพยัญชนะ  สนธิเข้าด้วยกันโดยวิธี  อาเทโส  คือแปลงบ้าง   วิธีโลโป  คือลบทิ้งบ้าง   (อักขรวิธีการสร้างคำของบาลีและสันสกฤต)  เช่น  วิธี  อาเทโส         เป็น สระโอ
            มนสส + รมย์                 มโนรมย์                        ความรื่นรมย์ใจ
            รหส+ฐาน                     รโหฐาน                        สถานที่ลี้ลับ
            มนส+ภาพ                     มโนภาพ                       ภาพที่เกิดทางใจ
            เตชส+ธาตุ                     เตโชธาตุ                        ธาตุไฟ
            ยสส+ธร                        ยโสธร                           ทรงไว้ซึ่งยศ
                        วิธีโลโป  คือลบพยัชนะบางตัว  เช่น
            นิรส+ภัย                       นิรภัย                            ไม่มีภัย
            นิรส+ทุกข์                     นิรทุกข์                          ไม่มีทุกข์
            พรหมส+ชาติ                 พรหมชาติ                     การเกิดแห่งพรหม
            ศุภมส+อัสดุ                   ศุภมัสสุ                         ขอความสุขจงเกิดมี
                                                                             เป็นต้น

นิคหิตสนธิ หรือ นฤคหิตสนธิ

            คือ การสนธิโดยคำมูลตัวหน้ามีนฤคหิต  แล้ว  แผลงนฤคหิตเป็นพยัญชนะ ตัวสุดท้ายของพยัญชนะวรรคนั้น ๆ ถ้าเป็นสระก็แปลงเป็นพยัญชนะตามที่กำหนด แล้วสนธิเข้ากับคำมูลคำหลัง
            วรรคกะ แผลงนฤคหิต  เป็น  
            °+กร              สังกร                ทำร่วม              
            °+เกต             สังเกต               ร่วมทำ
            °+ขยา             สัขยา                 การนับรวม       
                °+คม              สังคม                การคบหากัน
            วรรคจะ แผลงนฤคหิต  เป็น  
°+จร               สัญจร                ไปร่วมกัน         
°+ญาน           สัญญาน             เครื่องหมาย
°+ญา              สัญญา               รู้ร่วมกัน           
 °+ชาติ            สัญชาติ             เกิดร่วม
°+ชัย              สัญชัย               ชนะพร้อม        
 °+จร               สัญจร                 การเดินไป
            
วรรคฏะ แผลงนฤคหิต  เป็น  
°+ฐาน           สัณฐาน             ขนาด,รูปร่าง
             
วรรตตะ แผลงนฤคหิต  เป็น  
°+เทศ             สนเทศ             
°+โตษ            สันโดษ          
 °+นิบาต         สันนิบาต
             วรรคปะ แผลงนฤคหิต  เป็น  
            °+ปทาน          สัมปทาน                                  
                °+ผัส              สัมผัส
            °+โภชน์         สัมโภชน์                                 
            °+มุติ              สมมุติ
            °+พุทธ           สัมพุทธ       
           °+ภาษณ์         สัมภาษณ์          
            °+พันธ์           สัมพันธ์         
            °+โพธิ            สัมโพธิ
            เศษวรรค แผลงนฤคหิต  เป็น  
            °+สาร             สังสาร , สงสาร                         
                °+โยค             สังโยค
            °+หรณ์           สังหรณ์                                    
                 °+วร               สังวร
            °+สนทนา       สังสนทนา
นิคหิต สนธิกับ สระ แปลงนิคหิต เป็น      เช่น
สํ + อาทาน       สมาทาน              
สํ + อาคม          สมาคม     
สํ + โอสร         สโมสร    
 สํ + อาจารย์     สมาจารย์         
 สํ + อิทธิ            สมิทธิ          
สํ + อุทัย            สมุทัย
..................................................

หนังสืออ้างอิง

กำชัย  ทองหล่อ . หลักภาษาไทย .พิมพ์ครั้งที่ ๒ . กรุงเทพมหานคร , รวมสานส์ . ๒๕๓๗.
พรทิพย์   แฟงสุด . ภาษาไทย ม.  .  กรุงเทพมหานคร, ฟิสิกส์เซ็นเตอร์ ....