วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ฉันทลักษณ์วรรณกรรมอีสาน

ฉันทลักษณ์ของวรรณกรรมอีสาน
ประยอม ซองทองและคณะ (๒๕๓๘. : ) กล่าวไว้ในหนังสือเรียนภาษาไทย เรื่องการแต่งคำประพันธ์ ว่า ฉันทลักษณ์ เป็นชื่อตำราหลักภาษาในส่วนที่ว่าด้วยการแต่งคำประพันธ์ที่เป็นกาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันเรียกคำประพันธ์เหล่านี้รวมกันว่า "ร้อยกรอง" (โบราณใช้คำว่า "กานท์")
มีผู้อธิบายรูปแบบของฉันทลักษณ์วรรณกรรมอีสานไว้ต่างกัน เช่น ศาสตราจารย์ธวัช
ปุณโณทก อธิบายฉันทลักษณ์วรรณกรรมอีสานไว้ ๓ แบบ คือ โคลงสาร กาพย์ และร่าย (ฮ่าย) (ธวัช ปุณโณทก. ๒๕๔๔ ข : ๒๐-๒๔)  มหาศีลา วีรวงศ์ (๒๕๓๙) ได้อธิบายรูปแบบฉันทลักษณ์วรรณกรรมอีสานไว้ ๕ แบบ คือ กาพย์ กลอน โคลง ฮ่าย และโสก ซึ่งได้รวบรวมไว้ในหนังสือ "แบบการแต่ง กาพย์ กลอน โคลง โสก ผญา กลอนลำ กลอนอ่าน กาพย์สารวิลาสินี"

ข้อบังคับทางฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์อีสาน
. คณะ คือการกำหนดจำนวนคำ ลักษณะคำ  คำสร้อย  บท  บาท และวรรคของคำประพันธ์แต่ละประเภท
. สัมผัส ในคำประพันธ์อีสานเรียกว่า "ก่าย" มีทั้งก่ายใน และก่ายนอก

ลักษณะของคำในการแต่งคำประพันธ์
มหาศีลา วีรวงศ์ (๒๕๓๙ : ) อธิบายลักษณะของคำที่ใช้ในการแต่งคำประพันธ์ว่า
 "คำ" นั้น หมายเอาคำพูดหนึ่งๆ ซึ่งประกอบด้วย สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ ประสมกันแล้วอ่านออกเสียงมีความหมาย มีทั้งคำโดดและคำหลายพยางค์
คำโดด คือคำที่มีพยางค์เดียว เช่น กิน นอน  น้ำ นก ไฟ เป็นต้น
คำหลายพยางค์  ได้แก่ คำที่ใช้อักษรนำ เช่น ตลาด เสมอ เสวย ไสว แสวง ผญา เป็นต้น  คำที่ขึ้นต้นด้วยสระอะ เช่น สะเทิน กระดาน กระทำ กระสัน เป็นต้น  หรือคำที่แผลงมาจากภาษาบาลี เช่น เจียร บัวร บริ (เช่น ในคำว่า เจียรจาก บัวรพา บริวาร เป็นต้น) คำเหล่านี้ล้วนเป็นคำเดียวทั้งสิ้น
ยังมีคำอีกจำพวกหนึ่งที่บัญญัติในคำประพันธ์อีสาน คือคำสุภาพ คำเอก คำโท คำเป็น คำตาย คำสร้อย ดังรายละเอียดต่อไปนี้
. คำสุภาพ คือคำเป็นทั้งหมดที่ไม่กำกับด้วยรูปวรรณยุกต์
. คำเอก คือคำที่กำกับด้วยรูปวรรณยุกต์เอกทั้งหมด และใช้ "คำตาย" แทนได้
. คำโท  คือคำที่กำกับด้วยรูปวรรณยุกต์โททั้งหมด หรือที่เรียกว่า "คำทุ้ม"
. คำเป็น คือคำที่ประสมสระเสียงยาวในแม่ ก กา  และคำที่สะกดแม่ กง กน กม เกย 
เกอว รวมทั้งสระ อำ  ไอ   ใอ   เอา
. คำตาย ได้แก่คำที่ประสมสระเสียงสั้นในแม่ ก กา และคำที่สะกดแม่ กก  กด  กบ 
. คำสร้อย คือคำที่เพิ่มเข้าไปในคณะตามข้อบังคับของฉันทลักษณ์   เพื่อให้ใจความ
สมบูรณ์ หรือเพื่อความไพเราะ ในคำประพันธ์อีสานตามปกติมีคำสร้อยได้ ๒-๔ คำ สามารถวางไว้ได้ทั้งหน้าวรรค เช่น อันว่า คันว่า แม่นว่า เป็นต้น และวางไว้หลังวรรค เช่น แท้แล้ว แม่แล้ว
ท่านเฮย  จริงดาย  แท้ดาย  เป็นต้น
คำก่าย (สัมผัส)
           ในคำประพันธ์หรือบทร้อยกรองอีสานใช้การสัมผัสหรือการก่ายด้วยสระและด้วยพยัญชนะ มีทั้งก่ายในและก่ายนอก เป็นการก่ายด้วยเสียงสระและพยัญชนะ คือ
เสียงโทน คือคำที่มีเสียงเดียวกัน ทั้งสระและตัวสะกด จะต่างกันที่พยัญชนะต้นหรือวรรณยุกต์ เช่น  กาย - ดาย   น้าว - ท้าว  ซวง - ล่วง  ขา - ง่า  เป็นต้น
เสียงโทนคู่  คือคำที่มีพยัญชนะต้นเดียวกันหรือเป็นอักษรคู่ (อักษรสูงคู่กับอักษรต่ำ) มีสระและตัวสะกดเดียวกัน แต่ต่างกันที่เสียงวรรณยุกต์ เช่น ไกล - ใกล้    งอน - ง่อน   หอม - ฮอม  กวาง - กว้าง    บา - บ้า    คำ - ค่ำ  ไห้ - ไฮ  เป็นต้น
คำก่ายใน (สัมผัสใน) คือการสัมผัสสระหรือพยัญชนะภายในวรรค ด้วยเสียงโทนหรือโทนคู่ เป็นการเล่นคำเพื่อเพิ่มความไพเราะให้คำประพันธ์  ไม่เป็นข้อบังคับของฉันทลักษณ์
คำก่ายนอก (สัมผัสนอก) คือการสัมผัสด้วยสระนอกวรรค เป็นข้อบังคับของคำประพันธ์แต่ละประเภท
รูปแบบคำก่ายใน (สัมผัสใน)
กวีโบราณอีสานได้แต่งคำประพันธ์ให้ก่ายใน ที่ถือว่าเป็นคำประพันธ์ที่ไพเราะ มีรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งคำก่ายสระและคำก่ายพยัญชนะ คำก่ายในนั้นไม่ใช่ข้อบังคับทางฉันทลักษณ์  แต่ถ้าทำได้จะเพิ่มความไพเราะให้คำประพันธ์ แสดงให้เห็นศิลปะ ความเชี่ยวชาญในการใช้ถ้อยคำสำนวนของผู้แต่ง คำประพันธ์ประเภทกลอนบางชนิดไม่บังคับคำก่ายนอก แต่จะเน้นที่คำก่ายในอย่างเดียว รายละเอียดปรากฏในเรื่อง "กลอน" ซึ่งจะกล่าวต่อไป

รูปแบบคำก่ายมีลักษณะและชื่อเรียกต่างๆ กัน ดังแสดงในแผนภูมิต่อไปนี้  

 

แผนภูมิ    ลักษณะคำก่ายของคำประพันธ์อีสาน


                                              คำก่าย (สัมผัส)


 คำก่ายใน (สัมผัสใน)                                    คำก่ายนอก (สัมผัสนอก)
                                                                                                                    (บังคับตามฉันทลักษณ์ของ
                ก่ายสระ                           ก่ายพยัญชนะ                    คำประพันธ์แต่ละประเภท)


เคียงคู่       เทียบเคียง    ทบเคียง         ทบแอก                  


        เคียง     เทียมคู่     เทียมรถ      เทียบรถ        ทบคู่      เทียบคู่       แทรกคู่      แทรกรถ
                                                                                                                               

 

คำก่ายสระ

เป็นการก่ายด้วยเสียงโทน คือมีเสียงสระและตัวสะกดเดียวกัน แต่อาจจะต่างพยัญชนะต้นและวรรณยุกต์ มีรูปแบบและชื่อเรียกดังต่อไปนี้


. สระเดียวกันเรียงกัน ๒ คำ เรียกว่า "เคียงคู่" เช่น
...คอยเห็น ซวงล่วงพ้นฮังฮามหลายหลาก       ยาวฮอดฮ้อยประมาณเส้นเชือกงัว
  หกพี่น้องเฮฮ่ำพลอยกลัว              ซวงหลวงเหลียวถืกลมเฟือนฟ้น
  ตาแดงเข้มคือแสงสุริเยศ               พ่นพิษฮ้ายอายฮ้อนยิ่งไฟ...
                                                                                    (สังข์สินชัย)
            . สระเดียวกันเรียงกัน ๓ คำ เรียกว่า "เทียบเคียง" เช่น
...ตามตาดห้วยเทียวท่องทางตีน                   หลิงสาขาง่างามเงาเงื้อม
คีรีนั้นอยู่เกษิมแสนภาค                              พื้นฮาบเผี้ยนผาล้านล่วงสบาย...
                                                                                    (เวสสันดร)

. สองสระเรียงกันสระละ ๒ คำ เรียกว่า "ทบเคียง"   เช่น
นับแต่มาไกลน้องทองปอนนอนเปี่ยว                       จิตพี่ยังเกี่ยวฝั้นพันเกี้ยวเหนี่ยวนำ

. มีสระอื่นคั่นกลาง ๑ คำ และอยู่ปลายวรรค เรียกว่า "ทบแอก" หรือ "เทียมแอก"
    เป็นการก่ายด้วยเสียง "โทนคู่" เช่น
อันว่าภูธรท้าวทรงกระสันอกสั่น                   สัพพะดวงดอกไม้ดงซ้างป่าซาง
พระก็พานางขึ้นเขางอนเมือง่อน                  ตามไต่ก้อนผาล้านสำฮาน
คอยไปหน้าดงหนายาวย่าน                                   สองก็อุ้มอ่อนน้อยพาผ้ายเผ่นผาย
หอมดวงไม้ทรงสะออนอกอ่อน                   สัพพะพิชโภชน์พร้อมในด้าวดั่งดาว
ภูธรท้าวเหลียวคอยเดินค่อย                       น้อยหนึ่งม้มดงส้านป่าสาน
                                                                                    (เวสสันดร)

 

คำก่ายพยัญชนะ

เป็นการก่ายด้วยพยัญชนะต้นเสียงเดียวกัน หรือเสียงคู่กัน (หมายถึงอักษรสูงที่มีเสียงคู่กับอักษรต่ำ เช่น  -  -  -  -  -  -  หม-  หน-  หง-  หล-  เป็นต้น)  จะต่างกันที่สระ ตัวสะกด หรือวรรณยุกต์  ดังรายละเอียดต่อไปนี้

            . พยัญชนะเสียงเดียวกันเรียงกัน ๒ คำ เรียกว่า "เคียง" เช่น
มึงหากพาโลเล่นแนวมึงสมเสพ                   ลงท่าน้ำสมเล่นซาติมึง บ่หย่าแล้ว
ก็จึงเกิดลูกน้อยเป็นฮูปกุมภี                         มีผิวผางดังแนวนามเซื้อ
                                                                                    (นางแตงอ่อน)
. พยัญชนะเสียงเดียวกันเรียงกัน ๓ คำ เรียกว่า "เทียมคู่" เช่น
เมื่อนั้น ภูวนารถฮู้ ค้อยเคียดคืนพะลัน          ยอตาวแสงปั่นปุนจัดฮ้อน
นงคราญเบื้อพระทัยนางจักแตก                   ต้านสั่งเสื้อเสียงแจ้งจากไป
ค่อยอยู่ดีเยอ ผัวขวัญข้อยมีคุณล้นเกษ กูเอย    น้องจักลาจากเจ้าเดินดั้นดุ่งไพร
คันว่า เจ้าตื่นแล้วให้ฮีบค่อยตามไป แด่เนอ
                                                                                       (สังข์สินชัย)
            . พยัญชนะเสียงเดียวกันเรียงกัน ๔ คำ เรียกว่า "เทียมรถ" เช่น
เมื่อนั้น บรรทมทิพย์อาสน์อินทร์แข็งฮ้อน          อินทร์ก็เห็นบาท้าวทรงการกลางเถื่อน
เทวราชตั้งวิชัยช่วยใส่คาว                           มีมากพ้อมภาโภชน์โภชนัง
สรรพสรรครบเครื่องมวลมีพร้อม                   บาฮามฮู้อินทราทานทอด
ภูเบศรเจ้าใจแจ้งจอดเซา                          ผ่อเห็น สูรย์เคื่อนค้อยลับเหลี่ยมลงแลง
                                                                                       (สังข์สินชัย)
            . พยัญชนะเสียงเดียวกันเรียงกัน ๕ -๗ คำ เรียกว่า "เทียบรถ" เช่น
กาก่องก้านแกมกิ่งบัวทอง                         ทุกวันตูไค่หุมเห็นหน้า
มาซมส้อยซมสองสมสู่                              มาจวบเจ้าแพงซ้างซ่างจา
พี่ก็ มาท่อนท้าวพร้อมพ่ำชมสนุก                  โอนโอยอันอ่าวโอยเอาอ้าง
                                                                                    (ท้าวฮุ่งท้าวเจือง)
            . สองพยัญชนะเรียงกัน ๒ คู่ เรียกว่า "ทบคู่" เช่น
เมื่อนั้น ยักษ์ โกรธกล้า ปุ่นป่าว คดีเมือง        ยนยนยกท่อนทองทั้งค่าย
เสียงสูรย์ เท้าเถิงทรงฮ้องไฮ่                        พร้อมพาบ กลั้วกุมท้าวครืนเคร็ง
                                                                                    (สังข์สินชัย)
            . สองพยัญชนะเรียงกัน ๓ คู่ เรียกว่า "เทียบคู่" เช่น
บาบ่ พลั้งพลัน สอดสายธนู                        กำกง ผายผ่าพล มารม้าง
เสียงสูรย์เท่าเสมอเฟือนฟ้าหวั่น                   ยักษ์ขาดข้อนเขินม้างหมุ่นกระจวน
                                                                                    (สังข์สินชัย)
. สองหรือสามพยัญชนะเรียงกัน แล้วมีพยัญชนะอื่นคั่นกลาง ๑ คำ เรียกว่า
      "แทรกคู่" เช่น
ภูวนาถน้อยฮักพี่เซียงเคือ                           คอนคอนคิด สู่ ลวงเลยข้อง
ป่านนี้ ละออเนื้อนง ปาง พระพี่ กูพุ้น                       ดีแก่ เดือนเฮื่อแจ้งเจียร ฟ้า ส่องใส
                                                                                    (ท้าวฮุ่งท้าวเจือง)
. สองหรือสามพยัญชนะเรียงกัน แล้วมีพยัญชนะอื่นคั่นกลาง ๒ คำ  เรียกว่า 
     "แทรกรถ"  เช่น
บ่อาจตั้งอดอยู่เป็นตัว ได้แล้ว                      กองกัน ลดมอด โดยดอมเจ้า
                                                                                    (ท้าวฮุ่งท้าวเจือง)
ฟังยิน ครืนครืนเค้า พลมาก ขามเขิน          สีโหเห็นล่าวลามเลียนล้ม
                                                                                    (สังข์สินชัย)

การแต่งคำประพันธ์อีสาน

            การแต่งคำประพันธ์อีสานที่จะกล่าวต่อไปนี้ เรียบเรียงตามหลักการของมหาศีลา วีรวงศ์ (๒๕๓๙)  ซึ่งได้อธิบายหลักการแต่งกาพย์ กลอน โคลง ฮ่าย และโสกไว้ดังต่อไปนี้

. กาพย์
            ประยอม ซองทองและคณะ (๒๕๓๘ : ๘๘) อธิบายความหมายของกาพย์ว่า มาจากคำว่า "กวิ" ในภาษาบาลี เกิดจากการแผลงสระอิ เป็น ย เติมสระอา แล้วแผลง ว เป็น พ เป็น
กาพย แปลว่า "คำของกวี"หรือ "เหล่ากอแห่งกวี"
            ในภาษาไทยอีสาน "กาบ" หมายถึงสิ่งที่เป็นกลีบหรือแผ่นบางๆ ซ้อนกันอยู่  เช่น กลีบดอกบัว เรียกว่า กาบบัว  กาบใบหมากเมื่อแก่ร่วงลงมา เรียกว่า  "กาบอะลาง" เป็นต้น
บทกวีไทยกลางมีกาพย์หลายแบบ เช่น กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง  กาพย์สุรางคนางค์ กาพย์ห่อโคลง กาพย์เห่เรือ เป็นต้น ขณะที่กาพย์อีสานมีเพียงแบบเดียว เข้าใจว่าเอาตัวอย่างมาจากวิธีแต่งกาพย์วชิรปันตี ต่างกันที่ กาพย์วชิรปันตี มีวรรคละ ๑๐ คำ แต่กาพย์อีสานมีวรรคละ ๗ คำ วรรณกรรมอีสานหลายเรื่องประพันธ์ด้วยกาพย์ เช่น กาพย์ปู่สอนหลาน กาพย์หลานสอนปู่ กาพย์พระมุนี กาพย์รถไฟหลวง กาพย์โลกนิติอีสาน เป็นต้น รวมทั้งบทเซิ้งต่างๆ เช่น เซิ้งบั้งไฟ  เซิ้งนางแมว เป็นต้น มีข้อกำหนดดังนี้
คณะ กำหนดจำนวนคำแต่ละวรรค ๗ คำ ไม่กำหนดจำนวนวรรค สามารถแต่งไปได้เรื่อยๆ จนกว่าจะจบเรื่อง
สัมผัส  กำหนดการสัมผัสระหว่างวรรค โดยให้คำสุดท้ายของวรรคหน้าสัมผัสกับคำที่ ๑    หรือ    ของวรรคต่อไป แต่นิยมสัมผัสคำที่ ๓ ด้วยเสียงโทนเดียวกัน
แผนผัง
                                                    
                                                    
                                                    
                                                    
          ตัวอย่าง  กาพย์หลานสอนปู่
                                                ฮีดผู้เฒ่า                         มีแท้บ่หลาย
                                    อธิบาย                          หลานจำจื่อได้
                                    ให้ผู้เฒ่า                         ชวนลูกชวนหลาน
                                    ชวนกินทาน                     ทำบุญอย่าค้าน
                                    ชวนลูกบ้าน                     ใส่บาตรสู่วัน

                                    ชวนลูกหลาน                   ฟังธรรมอย่าขาด

                                    ให้ฉลาด                         หนแห่งทางขุน
                                    ใจเป็นบุญ                       เมตตาแผ่กว้าง
                                    อย่าอวดอ้าง                   ย้องว่าตัวดี
                         กาพย์รถไฟหลวง (บรรยายการเดินทางโดยรถไฟจากกรุงเทพฯ ถึงอุบลราชธานี)
ทางรถไฟอุบลโคราช                     ของประหลาดแต่ก่อนบ่มี
มันเหลือดีอุบลกรุงเทพ                   มันเป็นเขตทางยืดทางยาว
เดินตามคราวเถิงเดือนจึงฮอด          รถไปทอดบ่เถิงสองวัน
อัศจรรย์มันเร็วมันแล่น                   ตั้งหากแม่นค่าจ้างบ่แพง
ขึ้นรถแดงชั้นสามขนาด                   สิบสองบาทกรุงเทพอุบล. . .
. . .
รถบ่ซ้าออกแล่นตามราง                 ไปเบิดทางเจ็ดสิบห้าสุดยอด
ที่เข้าจอดอำเภอวาริน                    อยู่ทักษิณอุบลเมืองใหญ่
อยู่ทิศใต้คนฟากฝั่งมูล                   เขาจึงพูนถนนลงท่า
เป็นสง่ารถแล่นบ่นาน                    เว้านิทานวารินให้ฮู้
เพิ่นไปกู้เมืองเก่ามาแปง                 มันอยู่แขวงอุบลทางใต้
เอามาไว้อำเภอทักษิณ                   ตามพื้นดินซื่อคำน้ำแซบ. . .
                                   

. กลอน
คำว่า "กลอน" นี้ หมายถึงคำพูดที่จัดเป็นระเบียบ และมีถ้อยคำสัมผัส ก่ายกัน พาดกัน คล้ายกับกลอนบ้านกลอนเรือน   ศาสตราจารย์ธวัช ปุณโณทก (๒๕๔๔ ข) และอาจารย์มนัส
สุขสาย (๒๕๔๔ ก) เรียกคำประพันธ์ชนิดนี้ว่า "โคลงสาร"   ในที่นี้จะเรียก "กลอน" ตามแบบของ
มหาศีลา วีรวงศ์ ซึ่งได้จำแนกกลอนเป็น ๓ ประเภท คือ กลอนลำ กลอนอ่าน และกล่อนย่อย  กลอนทั้งสามแบบได้ตัวอย่างมาจากกาพย์วิชชุมาลี และกาพย์วชิรปันตี ดังรายละเอียดต่อไปนี้
            .๑ กลอนลำ  
       แต่งขึ้นเพื่อใช้ลำโดยเฉพาะ (ซึ่งจริงๆ แล้ว ร้อยกรองอีสานอื่นๆ ก็สามารถนำมาเป็นบทลำได้) กลอนลำมี ๒ แบบ คือ กลอนลำแบบวชิรปันตี และกลอนลำแบบวิชชุมาลี มีความ
แตกต่างกันดังนี้
แบบที่ ๑ กลอนลำแบบวชิรปันตี มีลักษณะคล้ายกาพย์ คือไม่มีบท แต่งเป็นวรรคไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจบเรื่อง มีข้อกำหนดดังนี้
คณะ  กำหนดให้วรรคหนึ่งมี ๗ คำ มีสร้อยหน้าวรรค ๒ ถึง ๔ คำ
สัมผัส กำหนดให้คำสุดท้ายของวรรคสัมผัสกับคำที่ ๓ ของวรรคต่อไปด้วยเสียงโทนเดียวกัน ต่างจากกาพย์ที่คำสร้อย กล่าวคือ กลอนแบบนี้สามารถมีสร้อยหน้าวรรคได้ ๒ ถึง ๔ คำ ขณะที่กาพย์ไม่มีคำสร้อยเลย
                      ตัวอย่าง  กลอนลำแบบวชิรปันตี
                                                ฟังเด้อน้อง          ป้องเลี่ยนอินทร์เขียน
                                                พี่มาเวียน           จนทางเป็นโสก
                                                เทียวข้ามโคก       จนหัวเข่าคอน

                        ย้อนอยาก          ได้บังอร              มานอนซ้อนคู่

                        ใจพี่                   ไกวคืออู่             โต้นเต้นไปมา
                        น้องซิ                 บ่โสดา               ส่าลือส่ำอ้าย
                        เห็นว่า                พี่ผู้ฮ้าย              กายก่ำดำผอม
                        ซิบ่                    อยากถนอม        เคียงกายหมายฮ่วม...
                       
แบบที่ ๒ กลอนลำวิชชุมาลี
            กลอนลำแบบนี้มีวิธีแต่งเหมือนกลอนอ่านวิชชุมาลี มีข้อกำหนดดังต่อไปนี้
คณะ กำหนดบทหนึ่งมี ๔ วรรค วรรคหนึ่งมี ๗ -๙ คำ สามารถมีสร้อยได้ ๒-๔ คำ วางไว้หน้าวรรค
สัมผัส  คำสุดท้ายของวรรค จะสัมผัสกับคำที่ ๑    หรือ ๓ ของวรรคถัดไป

                       
ตัวอย่าง  กลอนลำแบบวิชชุมาลี
)         มาจัก                 จาระในเรื่องเวียงจันทน์ชั้นเก่า
                                    สมัยแต่เค้าคนเฒ่าเล่ามา
)                                 ปางคณะแต่กี้แต่ที่คืนหลัง
            ปางเมื่อ              พระมหาราชวังยังอยู่ดีมีเจ้า
            อันว่า                 สาลีข้าวในนาฟ้าท่อง
            มีเข้าของก็บ่        มีผู้ฮ้ายกายหน้าฝ่าฝืน
)                                 นับแต่พื้นทีปถิ่นดินลาว
            ฝูงหมู่                 ซาวลาวกาวซ่าวนาตาก้า
            อันว่า                 งัวควายม้าแนวใดก็ได้ป่อย
            ชุมผู้                  สาวส่ำน้อยนมโต้นส่ำหัว

 (หมายเหตุ การแต่งกลอนที่มีบังคับบทละ ๔ วรรคนี้ สามารถขึ้นต้นด้วย ๒ วรรคหลังได้ แต่บทต่อๆ ไปต้องให้ครบ ๔ วรรค)

            .๒ กลอนอ่าน
            เป็นบทประพันธ์ที่แต่งขึ้นเพื่อบอกเล่าเรื่องราว นิทานต่างๆ ในหนังสือผูกที่ใช้อ่านหรือเทศน์ (ไม่มีเป้าหมายเพื่อใช้ลำ แต่อาจใช้เป็นบทลำก็ได้) มีวรรณกรรมจำนวนมากแต่งด้วย
คำประพันธ์ประเภทกลอน เช่น จำปาสี่ต้น นางผมหอม ท้าวคำสอน พระยาคำกอง สังข์สินชัยเป็นต้น โดยเฉพาะเรื่องสังข์สินชัย ซึ่งแต่งโดยท้าวปางคำ กวีชาวล้านช้างนั้น ถือว่าเป็นบทกลอนที่ไพเราะที่สุดในบรรดาบทกวีแห่งอีสาน (มหาศีลา วีระวงศ์. ๒๕๓๙ : ๑๘) กลอนอ่านมี ๔ แบบ คือ กลอนอ่านวชิรปันตี กลอนอ่านวิชชุมาลี กลอนอ่านอักษรสังวาส และกลอนอ่านสัพสอดหรือ
เทียมแอก (ทบแอก) ดังรายละเอียดต่อไปนี้

            แบบที่ ๑ กลอนอ่านวชิรปันตี
                        กลอนแบบนี้ใช้เฉพาะคำก่ายนอกให้ต่อเนื่องกันไปทุกๆ บาทเหมือนกาพย์ เป็นกลอนที่แต่งง่าย แต่เนื้อกลอนไม่ซาบซึ้งนัก เช่นเรื่องสุริยวงศ์  แตงอ่อน เป็นต้น มีข้อกำหนดคือ
 คณะ   กำหนดบทหนึ่งมี ๔ วรรค วรรคละ ๗ คำ อาจมีสร้อยหน้าวรรคไม่เกิน ๔ คำ หลังวรรคสุดท้าย ๒ คำ
สัมผัส คำสุดท้ายของวรรคสัมผัสกับคำที่ ๑  ๒ หรือ ๓ ของวรรคต่อไป
                        ตัวอย่าง กลอนวชิรปันตี
                      โลกบ่                ห่อนแต่งตั้ง         หญิงพาบสองผัว

                        เฮียมนี้               กลัวปาปัง           บาปเวรภายหน้า

                        ท่านอย่า             มาชวนเข้า          อะเวจีหม้อใหญ่
                        ท่านอย่า             มานั่งไกล้            เฮียมนี้ซิบ่ดี  แท้แล้ว
                                                                                                (ท้าวสุริยวงศ์)

          แบบที่ ๒ กลอนอ่านวิชชุมาลี
                        กลอนอ่านแบบนี้มีลักษณะคล้ายกับกลอนอ่านวชิรปันตีที่กล่าวมาแล้ว ต่างกันที่คำก่ายเท่านั้น มีข้อกำหนดดังนี้
คณะ  กำหนดบทหนึ่งมี ๔ วรรค วรรคละ ๗ คำ มีสร้อยหน้าวรรคไม่เกิน ๔ คำ หลังวรรค ๒ คำเช่นเดียวกับกลอนวชิรปันตี ต่างกันที่สัมผัสที่ซับซ้อนกว่า
สัมผัส
คำที่ ๗ ของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๑    ๔ หรือ ๕  ของวรรคที่ ๓  (คำสุภาพเหมือนกัน)
คำที่ ๗ ของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำที่ ๓ หรือ ๕ ของวรรคที่ ๔ (คำโทเหมือนกัน)
คำที่ ๗ ของวรรคที่ ๓ สัมผัสกับคำที่ ๒ หรือ ๕ ของวรรคที่ ๑ ในบทถัดไป (คำเอก)
คำที่ ๗ ของวรรคที่ ๔ สัมผัสกับคำสุภาพที่ ๑      หรือ  ๕ ของวรรคที่ ๒ ในบทถัดไป
                        ตัวอย่าง  กลอนอ่านวิชชุมาลี
                        )         เฮาจัก    แหนเงื่อนไว้ให้สว่าง           กระสันวอน

                                                คำเสนหาแห่งใด               ดวงซ้อย

                                                คอนคอนค้ำคอนคอน        คึดใคร่
                                                มัดแม่งถ้อยใจน้อย                        แม่งหาย
                        )                     ใจใหญ่น้อยน้อยใหญ่         สนเท
                                                คำสงสารหมื่นหมาย          หมายหมั้น
                                                เสนหาห้อยเสนโห             หายาก
                                                อันหนึ่งนั้นอันน้อย             เนื่องใน
                        )                     จักปากโอ้โอ้อ่าว              แถมถนัด
                                                คำใดเดดั่งใด                   ดอมดั้ง
                                    เมื่อนั้น   กษัตรีเจ้าเจืองลุน              ฮับพาก
                                    ตูก็        เมี้ยนเครื่องตั้งใจถ้า           จอดจง
                                                                                                (ท้าวฮุ่งท้าวเจือง)
แบบที่ ๓ กลอนอ่านอักษรสังวาส
                        เป็นคำประพันธ์ที่พบมากที่สุดในวรรณกรรมไทยอีสาน มีลักษณะคล้ายกับกลอนอ่านอื่นๆ ต่างกันที่กลอนอักษรสังวาสนี้ ไม่นิยมก่ายนอก แต่เน้น ก่ายใน ตามรูปแบบที่กล่าวข้างต้น เช่น เทียมคู่ เทียมรถ ทบคู่ เทียบคู่ แทรกคู่ แทรกรถ ตามความเหมาะสมและความสามารถของกวี วรรณกรรมที่มีการเล่นคำได้หลากหลายเกือบทุกวรรคได้แก่เรื่องสังข์สินชัย ซึ่งถือว่าเป็น
บทกลอนที่ไพเราะที่สุด
            คณะ  กำหนดบทหนึ่งมี ๔ วรรค วรรคละ ๗ คำ มีสร้อยหน้าวรรคไม่เกิน ๔ คำ หลังวรรค ๒ คำ
           สัมผัส ใช้การก่ายในอย่างเดียว

            ตัวอย่าง  กลอนอ่านอักษรสังวาส

                                    คันว่า          กายด่านด้าว              เดินฮอดกุมภัณฑ์              เมื่อใด

                                    มันนั้น         ลางลือเขา                 ข่าวเซ็งเซิงกล้า
                                    ให้ลูก          สามกษัตริย์เจ้า           เจียมใจจงถี่
                                                     แม่ตื่มถ้อย                 แถมต้านแต่ประมาณ
                                    อันหนึ่ง        ลอนจวบพ้อ               อาเอกองค์กษัตริย์                        ก็ดี
                                    อย่าได้        จงใจดอม                   ดั่งโดยแฮงฮู้
                                    ชาติที่          ใจหญิงนี้                    ตลบแปปิ้นง่าย                จริงแล้ว
                                    ฮู้ว่า            ยักษ์บ่แพ้                   เขาได้ค่องเคย
                                    แม่นว่า        เดียรสานเซื้อ              ภาษาสัตว์ต่าง                 ก็ดี
                                    คันว่า         ได้เกือกกั้ว                  กันนั้นหากหอม                แม่แล้ว
                                    อันว่า         สีหราชท้าว                  เจ้าอ่อนสังข์ทอง               ก็ดี
                                    อย่าได้       ไลบาคาน                   ให้ค่อยทวนคำเกื้อ                        กันเนอ
                                                                                                            (สังข์สินชัย)


          แบบที่ ๔  กลอนอ่านสัพสอดหรือเทียมแอก
                        กลอนแบบนี้มีลักษณะคล้ายกลอนอื่นๆ ต่างกันที่คำก่าย จะใช้การก่ายในแบบเทียมแอก (ทบแอก) เท่านั้น (ดูรายละเอียดรูปแบบการก่ายในที่กล่าวมาแล้ว) เป็นกลอนที่ไพเราะและแต่งยาก เนื่องจากจะหาคำโทนคู่ที่มีความหมาย ถูกตำแหน่งบังคับเอกโทและต้องใช้สัมผัสนี้ทั้งบท (๔ วรรค) จึงจะถือว่าสมบูรณ์
                        คณะ  เหมือนกับกลอนอ่านอักษรสังวาสที่ผ่านมา
            สัมผัส  ใช้คำก่ายในเป็นแบบ "เทียมแอก" คือคำที่ ๕ ก่ายเสียง "โทนคู่" กับคำที่ ๗ (เสียงโทนคู่ คือคำที่มีพยัญชนะต้นเดียวกันหรือเป็นอักษรคู่ มีสระและตัวสะกดเดียวกัน ยกเว้นเสียงวรรณยุกต์เท่านั้นที่ต่างกัน เช่น ไกล - ใกล้    งอน - ง่อน   ห่อม - ฮอม  เป็นต้น)
                       
                         ตัวอย่าง กลอนอ่านสัพสอดหรือเทียมแอก
                        )         หลิงเห็น        ไม้ล่าวล้ม                 เลียนฮ่อมเขาฮอม    พุ้นเยอ
                                                      ภูธรเลาะ                  เลียบพะนอมน้ำน้อง
                                                      เห็นผากว้าง              เขาคำค้อยค่ำ
                                    ดอยนั้น        อินทร์แต่งตั้ง              เขาเฮื่องฮุ่งเฮือง
                          )                         เล็งพากพื้น               เป็นฮ่มเฮืองฮม
                                                      พะลานเพียงงาม        ดั่งลานเลียนล้าน
                                                      ทุกประดาก้อน           สุวรรณทีทุกที่
                                                      ภูวนารถเจ้า               ใจสะล้างฮุ่งหลัง
                          )                         เยื้อนยากท้าว            ทั้งแฮ่งโฮยแฮง
                                                      เดินดอยหลวง            กว่าไกลฤๅใกล้
                                                      เลยเขียวขึ้น               เขางอนมีง่อน
                                    คิดเถิง          คุณแม่ป้า                 ปุ่นไห้ฮ่ำไฮ
                         )                          หลิงดอกไม้               ก้านก่องอินทร์กอง
                                    บาก็            ยินดีผาย                  ล่วงซอนซมซ้อน
                                                      ภูธรท้าว                   เดินเดียวดั้นเดี่ยว
                                                      ข้ามขอบด้าว             ไปหน้าหน่วงหนา
                         )        ฟังยิน          สกุณาเค้า                 งอยคอนฮ้องว่อน  พุ้นเยอ
                                    บางผ่อง       ฮักฮ่วมซู้                   ซมก้อยเกี่ยวกอย
                                                      กอยกมเกี้ยว             มือไลซ้อนไหล่
                                    คือดั่ง           สองก่อมซู้                 ซมเหง้าส่วงเหงา
                         )                          น้อยดุ่งเท่า                เถิงเล่าดอนเลา
                                                      ไพรสณฑ์แสน            ด่านกวางดูกว้าง
                                    บาก็            ผายตนดั้น                ดงยางเยือนย่าง
                                    คิดเถิง          แม่และป้า                 โหยให้หอดหิว  . . .
                                                                                                            (สังข์สินชัย)
         .๓ กลอนย่อย
                   กลอนประเภทนี้เป็นกลอนเบ็ดเตล็ดสั้นๆ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ กลอนขึ้นลง และผญา ดังรายละเอียดต่อไปนี้
          ) กลอนขึ้นลง
                                    เป็นกลอนที่ใช้เป็นบทนำก่อนจะขึ้นกลอนลำใหม่ โดยเฉพาะลำทางสั้น มักจะขึ้นต้น   "โอละนอ..."   แล้วตามด้วยบทกลอนขึ้น จากนั้นจึงเป็นกลอนลำ เมื่อจะจบกลอนมักจะลงว่า    "...สีนานวลซ้วนอ้ายไว้แน่ เด้อน้องเดอ"
            ตัวอย่างกลอนขึ้นลำ (ทางสั้น)
                        "โอละนอ... แก้มเปิ่นเวิ่นแก้มเจ้าเปิ่นเวิ่น  คันแม่นเป็นเมียเพิ่นให้เวินหนีไกลไกล คันบ่แม่นเมียใผให้เวิ่นมาทางพี้...โอละนอ นางเอย...แม่นว่าเด้อนาง...."

                   ) ผญา
                                    ผญาไม่มีรูปแบบฉันทลักษณ์เฉพาะตัว เป็นร้อยกรองแบบใดก็ได้ที่สั้นๆและมีความหมาย เป็นสุภาษิต ใช้ในการสั่งสอน เป็นคติเตือนใจ หรือการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว (ถ้าพูดโต้ตอบกันยาวๆ เรียกว่า ผญาเครือ) ลักษณะของผญามีหลายแบบ เช่น ผญาบาทเดียว  ผญาซ้ำคำหน้า  ผญาล้อคำ เป็นต้น ดังตัวอย่างผญาเครือ คำเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว ดังต่อไปนี้
ชาย  :  นางเอย  เจ้าผู้งามโต่งโหล่ง อ้ายผู้หลงทางมา สังบ่เอิ้นใส่แน่ อ้ายขอแว่กินน้ำ พอสิได้แน่บ่น้อ
หญิง : อ้ายเอย คันบ่ติว่าน้องทุกข์ไฮ้ ฮูปชั่วหัวหยอง  คันอยากลองผญานาง กะแว่มาตี้อ้าย
ชาย  : นางเอย อ้ายนี้คือจั่งไก่ผู้น้อย พอแต่ก่อเฮียนขัน  ตบปีกขึ้น ตนโตกะยังอ่อน ปากบ่ทันแก่ก้า
         จาเจ้ากะบ่เป็น  ดอกนาง
หญิง : อ้ายเอย น้องนี้คือดั่งบัวหวังน้ำ สิไปนำเท่าซั่ว คันแม่นน้ำแก่งขึ้น บัวสิยื้อยืดนำ นั่นแล้ว
ชาย  : นางเอย อ้ายนี้คนขี้ฮ้าย ลี้อยู่คือกบ  เห็นคนมา ป่อมปิแลมลงน้ำ ซั่นแล้ว
หญิง : อ้ายเอย น้องนี้คือดั่งปลาเข็งข่อน หนองนาน้ำเขินขาด  ฝนบ่มาหยาดให้ สิตายแล้งแดดเผา
        นั่นแล้ว ...
. โคลง
            คำว่า "โคลง" บางแห่งเขียนเป็น "โคง" บางแห่งเขียนเป็น "คระโลง" บางแห่งเขียนเป็น
"ครรโลง"  ก็มีความหมายอย่างเดียวกันกับคำว่า กอน หรือ กลอน  คือ โคง หรือโคลง หมายเอาสิ่งที่เกาะเกี่ยวกันเข้าเป็นรูปร่าง หรือเป็นถ่องแถว เช่น ร่างกระดูกเป็นต้น
            "คำโคลง" แปลงมาจากกาพย์วิชชุมาลีบ้าง มหาวิชชุมาลีบ้าง และกาพย์มหาสินธุมาลีบ้าง ที่พบในเรื่องท้าวฮุ่งท้าวเจือง มี ๒ อย่าง คือโคลง ๕ หรือวิชชุมาลี และโคลงสุภาพหรือมหาสินธุมาลี ดังต่อไปนี้
          .๑ โคลง ๕ หรือ โคลงวิชชุมาลี
                   ที่เรียกว่าโคลง ๕ นั้น เพราะโคลงนี้ใช้คำก่ายเหมือนกับกาพย์วิชชุมาลีหรือกลอนวิชชุมาลี  โดยกำหนดบทหนึ่งมี ๔ วรรค  วรรคละ ๕ คำ  คำก่าย กำหนดตามแผนผังข้างล่างนี้ ส่วน เอก โท นั้นไม่ค่อยแน่นอนนัก โดยมากบทหนึ่งให้ใส่ เอก ๔ คำ โท ๒ คำ
                        ตัวอย่าง  โคลง ๕ หรือโคลงวิชชุมาลี
                                           )              ลูกเพียงพ่อ                     แขงเมือง
                                                            อย่าจงใจ                                    จากเหน้า
                                                            มีคำเหลือง                      ล้านซั่ง
                                                            เป็นเจ้าผ่าน                     นครขวาง
        )             ยั่งยั่งฟ้า                         หัวปี
ฝนฮำดวง                       ดอกหญ้า
จักหนีหนี                                    บ่ได้
เจ้าฟ้าวั่ง                                    เวใจ                                                                              (ท้าวฮุ่งท้าวเจือง)

            .๒ โคลงสุภาพหรือมหาสินธุมาลี
                        โคลงนี้กำหนดให้บทหนึ่งมี ๔ วรรค  โดยวรรคที่ ๑    ๓ มีวรรคละ ๗ คำ  วรรคที่ ๔ มี ๙ คำ  วรรคที่ ๑ ให้เพิ่มสร้อยหน้าวรรคได้ ๒ คำ และวรรคที่ ๓ ให้เพิ่มสร้อยท้ายวรรคได้ ๒ คำ  โคลงบทหนึ่งให้มีคำเอกได้ ๗ คำ  โท ๔ คำ และใช้คำก่ายตามแผนผังต่อไปนี้
                       
ตัวอย่าง  โคลงสุภาพหรือมหาสินธุมาลี
                                    )         มาลากองกิ่งก้าน              งามตู
                                                ดวงหนึ่งแลหลิงดู              ชื่นช้อย
                                                หอมฮสทั่วชุมพู                 ถนัดยิ่ง    เฮียมเอย
                                                ขอบพระคุณเจ้าข้อย         ลื่นล้ำเสนโห ฯ
                                    )         จักทานทัดใส่เกล้า             เกษา
                                                หอมยิ่งกันนิกาสุด             แหล่งหล้า
                                                จักมีแห่งใดดา                  ดูยาก    พระเอย
                                                หกแห่งสวรรค์นครฟ้า         บ่เปรียบได้เถิงสอง
                                    )         จักด่วนขึ้นฟ้าเล่า              ยังฮัก
                                                จักอยู่ดอมเฝือผัก             เพื่อนน้อง
                                                จักดีบ่ดีนัก                      สะเทินห่าง    พระเอย
                                                นานขึ้นเยียวความข้อง       พากน้องหลายทาง  
                                                                                                            (ท้าวฮุ่งท้าวเจือง)

. ฮ่าย หรือ ร่าย
            คำว่า "ฮ่าย" นี้เป็นลักษณะเสียงร้องยาวโหยหวนของสัตว์บางชนิด เช่น ชะนี หรือนกเค้าแมวร้องเมื่อจวนสว่าง เสียงร้องอย่างโหยหวนนี้เรียกว่า ชะนีฮ่ายไม้ หรือนกฮ่ายไม้ จึงใช้เรียกคำประพันธ์ที่ขับด้วยเสียงลากยาวสูงๆ ต่ำๆ เช่นบทสูดขวัญ บทเทศน์มหาชาติ เป็นต้น ฮ่ายมี ๓ ชนิด คือ ฮ่ายวชิรปันตี ฮ่ายมหาวชิรปันตี และฮ่ายยาว ดังรายละเอียดต่อไปนี้

.๑ ฮ่ายวชิรปันตี
                        คณะ  กำหนดให้บทหนึ่งมี  ๔ บาท  บาทละ ๒ วรรค วรรคละ ๕ คำ  มีคำสร้อยหน้าวรรค ๒-๔ คำ  สร้อยท้ายบท ๒ คำ
                   สัมผัส  กำหนดให้คำสุดท้ายของวรรค ก่ายกับคำที่ ๒ หรือ ๓  ของวรรคถัดไป
                  )

                        ตัวอย่าง  ฮ่ายวชิรปันตี
                                                            ชุมลุมใบช่อน้อย               เป็นส้อยย่อมเพิงตา
                                    เป็นประดุจดัง      กันนิกาดอกแก้ว               บานแล้วดอกแกมใบ
                                                            เคยตามไปทุกแง่               เล่นแล้วแห่แหนมา
                                    ขุนจัก                 หนีเสียนาไพร่ม้าง             ไปอยู่สร้างตนเดียว  แลเด ฯ
                                                                                                            (ทานกัณฑ์)
.๒ ฮ่ายมหาวชิรปันตี
          คณะ กำหนดให้แต่งบทละ ๔ บาท  บาทละ ๒ วรรค วรรคต้น ๕ คำ วรรคปลาย ๖ คำ มีคำสร้อยหน้าวรรค ๒-๕ คำ
          สัมผัส กำหนดให้คำที่ ๕ (คำสุดท้ายของวรรคต้น) ก่ายกับคำที่ ๘ (คำที่ ๓ ของวรรคต่อไป) ในทางปฏิบัติ คำก่ายอาจเปลี่ยนแปลงได้ คือ คำที่ ๕ อาจก่ายกับคำที่ ๘    หรือ ๑๐  คำที่ ๑๑ ก่ายกับคำที่ ๓ หรือ ๔ ของวรรคต่อไป
         
                        ตัวอย่าง  ฮ่ายมหาวชิรปันตี
                                    ยทา ทลิทโท        หญิงฝูงใดนานา               เห็นผัวมาเป็นข้อยข้า
                                                            ตกถ่อยช้าขีนใจ                บ่มีอันใดสักสิ่ง
                                                            ทอดไฮ้ยิ่งขีนใจ                 ขนขวายเลี้ยงชีวิตไจ้ไจ้
                                                            ขี้ไฮ้ว่าจักหนี                    ยามเมื่อผัวเป็นดีมูลมั่ง
                                                            เป็นเจ้านั่งปุนปอง             หญิงจองหองว่าจักอยู่
                                    ผู้ข้านี้จักไป         เป็นคู่แก้วผัวขวัญ             พระจอมธรรม์เอยเจ้าฟ้า
                                    ข้าน้อยบ่ให้ผัว     ตกถ่อยซ้าจักอัน               เทวดาในสวรรค์ฟากฟ้า
                                                            ย่อมอว่ายหน้ายอคุณ        นางใจบุญย่อมหายาก
                                                            ลำบากด้วยผัวตน             ในเมืองคนหาบ่ได้
                                                            ยามเมื่อผัวขี้ไฮ้                 ก้มหน้าต่ออดเอาดาย ฯ
                                                                                                            (ทานกัณฑ์)
.๓ ฮ่ายยาว
ฮ่ายยาวนี้กำหนดไว้ว่า ในวรรคหนึ่งมีจำนวน ๕ ถึง ๑๔ คำ ส่วนคำก่ายนั้น ให้คำสุดท้ายของแต่ละวรรค ก่ายกับคำใดคำหนึ่งของวรรคต่อไป ไม่กำหนดจำนวนวรรค ดังตัวอย่าง
บทเทศน์มหาชาติ และบทสูดขวัญ ต่อไปนี้

          บทเทศน์มหาชาติ
            เจ้าจิงเห็นนางนักสนมทั้งหลาย         เสยยานอนหลายหลาก    บางพ่องนอนบิ้วปากและโกนโฮ           บางพ่องนอนเปือยโตเหยือยผมอยู่พีพากพีพาก   บางพ่องนอนจูบปากและขบฟัน   เจ้ายินอัศจรรย์ใจบ่ฮู้แล้ว   บางพ่องนอนยิ่งแข้วและน้ำลายเหือยซีซด    บางพ่องนอนลดผ้าปำไป่แปนกายและเนื้อ   เจ้าก็คิดอ่าวเอื้อยินหน่ายสงสาร ฯ
                                                                                    (ศักราชหลวง)
          ตัวอย่างบทสูดขวัญ
            ศรี ศรี สุภมังคละ สุภะสวัสดีวิเศษ อติเรกไชยศรี  สวัสดีจงมีแก่ฝูงข้า  นรเทพานาคครุฑ  เทพบุตรเทพยดา   อินทร์พรหมยมราชาจตุราทั้งสี่   ทุกที่พร้อมจักรวาล   กับทั้งภูมิสถานเจ้าที่   จงพร้อมกันมาชมชื่นยินดี   เซิ่งมังคละราศรีวิเศษ   วันนี้พระเกตุเข้าราศรี   เป็นวันดีสุดขนาด...


) โสก
โสกหรือสารโสก ศัพท์คำนี้แปลว่าส่วน หรือลักษณะอันดีของคน สัตว์ บ้านเรือนหรือ
สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ (คล้ายคำว่า "โฉลก" ของภาษาไทยกลาง) ดังนั้นจึงมีการ "แทกโสก" (คือการวัดสัดส่วน) เพื่อดูว่า "ถืกโสก" (มีสัดส่วนที่ดี) หรือไม่ ปราชญ์โบราณอีสานได้กำหนดโสกของสิ่งต่างๆ ไว้มากมาย เช่น โสกผู้ชาย โสกผู้หญิง โสกบ้านเรือน โสกปืน โสกดาบ โสกฆ้อง โสกกลอง โสกอู่ โสกทิศ โสกกุฎี โสกผ้านุ่ง โสกครก โสกไม้คาน โสกที่นอน โสกรถ โสกเรือ โสกช้าง โสกม้า เป็นต้น โดยแต่งเป็นคำคล้องจองกัน และใช้เรียกคำประพันธ์ที่มีลักษณะคล้ายโสกนี้ว่าเป็น
คำประพันธ์แบบ "โสก" ไม่กำหนดว่าโสกหนึ่งๆ มีกี่วรรค มีจำนวนคำในวรรคตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปถึง ๗ คำ เรียกชื่อตามจำนวนคำในวรรค เช่น ถ้าวรรคหนึ่งมี ๒ คำ เรียก "โสก ๒" มี ๓ คำ เรียก "โสก ๓" เป็นต้น การก่ายคำเป็นการก่ายนอก คือคำสุดท้ายของวรรคจะก่ายกับคำที่ ๑ ๒ ๓ หรือ ๔ ของวรรคต่อไป  ดังตัวอย่างต่อไปนี้
โสกทิศทั้งแปด  (มหาศีลา วีรวงศ์. ๒๕๓๙ : ๓๕)
ซกมก    ทกเกียน      เหียนแอ่น    แปนโต    โสภาพ    นาพพาน    หาญน้ำ    ซ้ำโกน
โสกกลอง (สวิง บุญเจิม. ๒๕๓๙ : ๖๕๑) 
นันทเภรี   ศรีชมชื่น   หื่นเมืองพรหม   สมณ์อยู่สร้าง   ม้างสังโฆ   โพธิสัตว์   วัดพระเจ้า
โสกผู้หญิง (สวิง บุญเจิม. ๒๕๓๙ : ๖๓๘)
กะดิกกะดิ้น   พอกินพออยู่   อั้นตู้ตัณหา   กาเฝ้าเจ้าฮัก   คอหักคอค่าย   ก่ายขึ้นก่ายลง   เงินเต็มถง
แอ่วค้า   ขี่ม้าเลียบเมือง   ทองเหลืองเต็มแท่น   เงินบ่แก่นก้นถง   ซาตาลงขี้คร้าน   บ่คร้านถุงเงินตุง
โสกกอนเฮือน (มหาศีลา วีรวงศ์. ๒๕๓๙ : ๓๖)
สีบุญเฮืองฮ่วมเฮ้า   ผู้เฒ่านั่งทนทุกข์   อยู่เถิงสุขเท่าซั่ว   ถงแป้งฮั่วเป็นฮู   สาวมาซูซิงฮัก 
มักป่วยไข้เสียคาย   มีของหลายเหลือมาก   ทุกยากบ่มีสัง
โสกผู้ชาย (สวิง บุญเจิม. ๒๕๓๙ : ๖๓๕)
ปู่ทื้นขึ้น  ย่าทื้นลง  สองแขนปลงไว้ที่ต่ำ  สองตีนย่ำหัวผี  สาวผู้ดีแล่นมาสู่  ตุ้มหมู่ได้พอกอง  ตุ้มของ      ได้พอล้าน  มีบ้านบ่มีนา  กาสับหัวกินเลือด หญ้าม้าบ่เหือดคอ ปอแดงมัดกะโด้น ปากพ้นเพิ่นทั้งเมือง
ศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสือ "ตำรามรดกอีสานหรือมูลมังอีสาน" โดย สวิง บุญเจิม (๒๕๓๙)
คุณค่าของวรรณกรรมพื้นบ้าน
            วรรณกรรมแห่งชาติมีคุณค่าต่อประชาคมในชาติอย่างไร วรรณกรรมพื้นบ้าน ก็มีคุณค่า
ต่อประชาคมท้องถิ่นอย่างนั้น  คุณค่าของวรรณกรรมพื้นบ้าน อาจสรุปได้ ดังนี้ (มนัส สุขสาย. ๒๕๔๔ ก : ๒๐๖)
            . คุณค่าทางการถ่ายทอดภูมิปัญญา  วรรณกรรมเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในท้องถิ่น ซึ่งแสดงออกทางด้านภาษา ศิลปวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ คติชีวิต เป็นต้น  แสดงให้เห็นถึงอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรือง
            .  คุณค่าทางสันทนาการ  วรรณกรรมพื้นบ้าน มีรูปแบบที่สามารถให้ความบันเทิง ทั้งด้านอรรถรสทางภาษาและเนื้อเรื่อง เช่น นิทานคำกลอนต่างๆ สามารถนำมาขับร้องเป็นท่วงทำนองที่ไพเราะ เป็นต้นแบบที่ศิลปินอีสานนำมาเป็นอาชีพได้ เช่นหมอลำต่างๆ ก็ใช้พื้นฐานทางวรรณกรรมในการเรียบเรียงทั้งเนื้อเรื่องและฉันทลักษณ์
            .  คุณค่าในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ  ถือเป็นประเพณีของอีสาน ในการสูดขวัญ เช่นการแต่งงาน  ขึ้นบ้านใหม่  สูดขวัญผู้ป่วย ตลอดจนการแสดงความยินดี การต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง  จะมีการสูดขวัญด้วยคำกลอนอีสานทั้งสิ้น  นับเป็นจิตวิทยาชั้นสูงที่ปราชญ์โบราณได้คิดค้นขึ้น ถือเป็นประเพณีสืบมา  หมอสูด (ชาวบ้านมักเรียกว่า "พ่อพราหมณ์" )  บางคนมีใบลานอ่านประกอบเพื่อให้เกิดความขลัง และใบลานนั้นมักจารด้วย "อักษรธรรม"
            .  คุณค่าในการอบรมสั่งสอน  มีวรรณกรรมหลายเรื่องที่มีเนื้อหาในการสั่งสอน ให้คติเตือนใจ ให้แนวทางในการดำรงชีวิตให้มีความสุข อันเป็นคำสอนที่อิงหลักพุทธศาสนา  แทรกอยู่ในวรรณกรรมอย่างแยบยล ผู้ฟังจึงได้รับทั้งความบันเทิงและความคิดที่ดีงามไปในขณะเดียวกัน
.  คุณค่าในทางประวัติศาสตร์  มีวรรณกรรมจำนวนมากที่กล่าวถึงตำนานต่างๆ อันเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างหนึ่ง เช่น ตำนานขุนบรม ตำนานอุรังคธาตุ (ประวัติพระธาตุพนม) ท้าวฮุ่งท้าวเจือง พื้นเมืองอุบล เป็นต้น หรือแม้แต่นิทานก้อมกันยักษ์ ซึ่งเป็นตอนหนึ่งของขบถผีบุญที่โด่งดังในภาคอีสานเมื่อ ปี พ.. ๒๔๔๔ (สมัยรัชกาลที่ ๕) ดังตอนหนึ่งกล่าวว่า
"...ถึงกลางเดือน ๖ ปีฉลู หินแฮ่จะกลายเป็นเงินเป็นทอง ฟักเขียว ฟักทองจะกลายเป็นช้างเป็นม้า ควายเผือกและหมูจะกลายเป็นยักษ์ขึ้นกินคน ท้าวธรรมิกราชจะมาเป็นใหญ่ ใครอยากพ้นเหตุร้าย ให้คัดลายแทงบอกต่อๆ กันไป..." (ธนาคม. ๒๕๔๒ : ๒๒)
อันเป็นการปลุกระดมให้เกิดความวุ่นวายทางการเมือง  ทางการต้องใช้เวลาปราบปรามหลายเดือน พวกขบถถูกจับมาจองจำที่ทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และถูกประหารชีวิต เหตุการณ์จึงสงบลง  จากเหตุการณ์นี้ จึงมีกฎหมายห้ามประชาชนนับถือภูตผีในเวลาต่อมา 

การสืบสานวรรณกรรม
            วิธีการสืบทอดวรรณกรรมพื้นบ้านอาจทำได้หลายวิธี เช่น
            .  สืบทอดทางมุขปาฐะ คือการสืบทอดต่อกันมาด้วยปาก กล่าวคือ เล่าเรื่องราวต่างๆ สืบต่อกันมา เช่นผู้สูงอายุเล่านิทานให้ลูกหลานฟัง เป็นต้น
            .  สืบทอดด้วยลายลักษณ์ เป็นวิธีการใหม่ที่ต้องอาศัยวิชาการทางหนังสือ กล่าวคือ ผู้รู้ได้จดจารลงในหนังสือใบลาน  สมัยต่อมาก็ได้ปริวรรต และตีพิมพ์เผยแพร่เป็นหนังสือ ในปัจจุบันได้มีการตีพิมพ์วรรณกรรมพื้นบ้านแล้วหลายเรื่อง เช่น นางผมหอม  นางแตงอ่อน  กาฬเกษ  สังข์สินชัย  ท้าวสุริยวงศ์  เสียวสวาสดิ์  เป็นต้น  แต่ส่วนใหญ่ จะพิมพ์ด้วยอักษรไทยกลาง
            .  สืบทอดด้วยการแสดงมหรสพ  ในปัจจุบันมีการนำวรรณกรรมพื้นบ้านมาแสดงต่อ
สาธารณชน ในรูปมหรสพต่างๆ เช่น หมอลำ เพลงลูกทุ่ง รวมทั้งการถ่ายทอดผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น
            . สืบทอดด้วยการศึกษาเล่าเรียน ในสมัยโบราณ ประชาชนส่วนใหญ่ รับรู้วรรณกรรมจากการฟัง (มุขปาฐะ) ผู้ที่มีโอกาสได้ "อ่าน" คือผู้ที่บวชเรียนเท่านั้น จึงทำให้การสืบสานทำได้ในวงแคบ  การนำวรรณกรรมและภาษาท้องถิ่นมาสอนในโรงเรียน ให้ทุกคนได้เรียนรู้ จึงเป็นทางหนึ่งในการสืบสานวัฒนธรรมทางภาษา
            ในปัจจุบัน การส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (อินเตอร์เน็ท) สามารถทำได้รวดเร็วและกว้างไกลไปทั่วโลก จึงน่าจะเป็นวิธีหนึ่งในการเผยแพร่และสืบสานวรรณกรรมพื้นบ้าน

(เรื่องปนี้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยอีสาน
เรียบเรียงโดย วัฒน ศรีสว่าง)